ลบ แก้ไข

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 13 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา (Royal University of Law and Economics, Cambodia)

 
  เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

สวัสดีทักทายชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์วันนี้นำเสนอเป็นตอนที่ 13 แล้วครับ โดย มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับ "เรียนต่ออาเซียน" ซี รีย์ ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้ รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ 

ในตอนที่ 12 ที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จัก มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนของประเทศสิงคโปร์และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่คนเอเชียภูมิใจจากการเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพทางวิชาการระดับโลกครับ วันนี้เราจะขึ้นมาที่ประเทศกัมพูชากันอีกครั้งกับมหาวิทยาลัยอีกแห่งที่น่าสนใจของประเทศกัมพูชา ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญในสายสังคมศาสตร์ของประเทศกัมพูชา ได้แก่ มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา (Royal University of Law and Economics, Cambodia) 
มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา (Royal University of Law and Economics) เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของกัมพูชา ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 โดยแต่เดิมนั้น มหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่าสถาบันนิติศาสตร์แห่งชาติ การเมือง และเศรษฐศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1957 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้ทางสถาบันได้มีฐานะเป็นคณะ และได้ถูกยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 2003 ครับ

มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการเรียนการสอนในสาขาวิชาด้านนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่ภายหลังมหาวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาอื่นด้วย โดยปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมี 4 คณะ 2 บัณฑิตวิทยาลัย และหนึ่งศูนย์สำหรับฝึกนักกฎหมาย ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับว่าเป้นสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้าน นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ ของประเทศกัมพูชาครับ

 
           เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตร ปริญญาตรีภาคภาษาอังกฤษ 2 สาขา ซึ่งได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกา University of San Francisco และ Stanford University ได้แก่
 
ปริญญาตรี (ภาคภาษาอังกฤษ)

1. ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) - English Language Based Bachelor of Law (ELBBL)

2. ปริญญาตรี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) - Bachelor of International Relations (B.I.R) 



การสมัครเข้าศึกษา (Admissions) หลักสูตรภาษาอังกฤษ สามารถสมัครได้โดยตรง ที่ ศูนย์รับสมัคร มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา ที่นี่

ซึ่งทั้งสองหลักสูตรจะใช้เวลาในการศึกษาทั้งหมด 3 ปี และผู้ที่มีผลการเรียนโดดเด่นมีโอกาสในการไปศึกษาแลกเปลี่ยนยังสหรัฐอเมริกาได้อีกด้วย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Lyon 2 University ในประเทศฝรั่งเศส ในการเปิดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท ในภาษาฝรั่งเศส โดยมีสาขาวิชา ได้แก่ 

ปริญญาตรี (ภาคภาษาฝรั่งเศส)

1. ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์และการจัดการบัณฑิต (ภาคภาษาฝรั่งเศส) - Bachelor in Economics and Management 
2. ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาฝรั่งเศส) - Bachelor in Law 

ปริญญาโท (ภาคภาษาฝรั่งเศส)
 

 

การสมัครเข้าศึกษา (Admissions) หลักสูตรภาษาฝรั่งเศส สามารถสมัครได้โดยตรงกับ Lyon 2 University ที่นี่
 
รายละเอียดที่พัก ค่าใช้จ่ายในการเรียน สามารถติดต่อได้ที่ : 
Monivong Blvd, District Tonle Basac, Khan Chamkamon, Phnom Penh, CAMBODIA, P.O.Box 842, Phone: (855) 23 36 26 07/21 47 03 Fax: (855) 23 21 49 53, E-mail:info@rule.edu.kh, website: www.rule.edu.kh


 
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล :
 มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา (Royal University of Law and Economics, Cambodia)


อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 3 : การศึกษาในประเทศบรูไน
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 4 : มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 5 : ซินจ่าว ! การศึกษาเวียดนาม และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University)

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 8 : มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 9 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 10 : มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 11 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) 
-
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 12 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)                                    

                                      กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห


พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
 

Tony Teerati ชม 1,056 ครั้ง


TOP RELATED


NEW STORIES


Comment