ลบ
แก้ไข
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ พบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งนะครับ วันนี้ มองการศึกษาโลก จะพาทุกคนมาทำความรู้จักมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับซีรีย์ "เรียนต่ออาเซียน" ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้รู้จักกันมากขึ้นครับ
ในตอนที่สองของซีรีย์เรียนต่ออาเซียนวันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยชื่อดังจากประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างประเทศลาวครับ และมหาวิทยาลัยนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนที่มีการรวมกันเพื่อพัฒนาการศึกษาด้านอุดมศึกษาของอาเซียนอีกด้วยครับ มหาวิทยาลัยที่หลายคนรู้จักกันดี ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos) ครับ (อ่านเพิ่มเติม :รู้จักเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ พบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งนะครับ วันนี้ มองการศึกษาโลก จะพาทุกคนมาทำความรู้จักมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับซีรีย์ "เรียนต่ออาเซียน" ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้รู้จักกันมากขึ้นครับ
ในตอนที่สองของซีรีย์เรียนต่ออาเซียนวันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยชื่อดังจากประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างประเทศลาวครับ และมหาวิทยาลัยนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนที่มีการรวมกันเพื่อพัฒนาการศึกษาด้านอุดมศึกษาของอาเซียนอีกด้วยครับ มหาวิทยาลัยที่หลายคนรู้จักกันดี ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos) ครับ (อ่านเพิ่มเติม :รู้จักเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน)
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (ມະຫາວິທະຍາໄລແຫ່ງຊາດ) หรือ ชื่อในภาษาอังกฤษ "National University of Laos" นี้นั้น เป็นมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครับ ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเพียงแห่งเดียวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาจากการรวมคณะสาขาวิชาต่างของประเทศลาว ตั้งแต่ปีค.ศ. 1996 ครับ วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวนั้นมีถึง 8 แห่ง (ณ ปัจจุบัน ปีค.ศ.2013) ครับ และวิทยาเขตที่เป็นศุนย์การบริหารหลักได้แก่ วิทยาเขตดงโดก หรือคนไทยหลายคนอาจจะเรียกมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวในชื่อเล่นอื่นๆ เช่น "มหาวิทยาลัยดงโดก" อีกด้วย
งานรับปริญญามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
งานรับปริญญามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากมาย เช่นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอาเซียนอื่นๆ เช่นในประเทศไทยของเราซึ่งมีความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้ามาศึกษายังประเทศไทยหลายคน นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายในการทำวิจัยระหว่างประเทศอีกด้วยครับ
หลักสูตรการเรียนที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีคณะสาขาวิชาเรียนที่หลากหลายถึง 13 คณะ วิชาครับ ได้แก่
หลักสูตรการเรียนที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีคณะสาขาวิชาเรียนที่หลากหลายถึง 13 คณะ วิชาครับ ได้แก่
1. คณะวนศาสตร์หรือคณะป่าไม้ (Faculty of Forestry)
2. คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education)
3. คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)
4. คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Sciences)
5. คณะอักษรศาสตร์ (Faculty of Letters)
6. คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ (Faculty of Economics and Business Administration)
7. คณะเกษตรศาสตร์ (Faculty of Agriculture)
8. คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (Faculty of Laws and Political Sciences)
9. คณะแพทยศาสตร์ (Faculty of Medical Sciences)
10. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
11. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Faculty of Architecture)
12. คณะสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Faculty of Environment and Development Studies)
13. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (School of Foundation Studies)
นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวรับรางวัลนักศึกษา
ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยไทย
นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวรับรางวัลนักศึกษา
ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยไทย
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในไทยอยู่สองโครงการครับ
โครงการที่ 1 โครงการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโท ในสาขา "การพัฒนาระดับนานาชาติ" (International Development Studies) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการเรียนการสอนภาคพิเศษในวันเสาร์ – วันอาทิตย์
โครงการที่ 2 โครงการยกระดับพนักงานของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวให้เป็นระดับปริญญาตรี โดยได้รับความร่วมมือกับมูลนิธิมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยประชาคมนานาชาติอุดรธานี – หนองคาย เพื่อส่งเสริมให้บุคคลากรจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวที่วุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรีจำนวน 114 คน ให้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ทุนการศึกษา
ทุนการศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวสำหรับนักเรียนไทยนั้น ยังมีค่อนข้างจำกัดครับ ทุนการศึกษาที่มีให้ส่วนใหญ่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากทางเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวที่ส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนกัน นอกจากนี้ยังมีทุนเครือข่ายทางด้านวิชาการ ที่มอบให้กับนักศึกษาลาวมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยไทย ได้แก่
1. ทุนบัณฑิตศึกษา ณ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
2. ทุนคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท)
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
อ่านเรื่องก่อนหน้า :
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
ทุนการศึกษา
ทุนการศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวสำหรับนักเรียนไทยนั้น ยังมีค่อนข้างจำกัดครับ ทุนการศึกษาที่มีให้ส่วนใหญ่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากทางเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวที่ส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนกัน นอกจากนี้ยังมีทุนเครือข่ายทางด้านวิชาการ ที่มอบให้กับนักศึกษาลาวมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยไทย ได้แก่
1. ทุนบัณฑิตศึกษา ณ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
2. ทุนคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท)
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
อ่านเรื่องก่อนหน้า :
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
Tony Teerati
ชม 3,321 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES