ลบ
แก้ไข
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาลายาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1949 โดยปัจจุบันมีคณาจารย์จำนวน 2,500 คน และในปีค.ศ.2012 มหาวิทยาลัยได้แยกออกมาเป็นสถาบันอิสระจากกระทรวงอุดมศึกษาของมาเลเซีย และมีอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS World University Rankings ประจำปีค.ศ. 2012-2013 อยู่ในอันดับที่ 156 ของโลก
ประวัติของมหาวิทยาลัยมาลายานั้นเริ่มตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ ในสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โดยในช่วงปีค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปีค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปีค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปีค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และ วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์
ในปีค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งสิงคโปร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ National University of Singapore)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya)
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
สวัสดีทักทายชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์มาถึงตอนที่ 7 กันแล้วนะครับ โดยวันนี้ มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับซีรีย์ "เรียนต่ออาเซียน" ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ
ในตอนที่ 6 ตอนที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จัก การศึกษาและระบบการศึกษาของมาเลเซีย รวมถึง มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) หนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนกันไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นความภูมิใจของชาวมาเลเซียมาแนะนำให้รู้จักกันครับ เพราะเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ขึ้นไปยืนอยู่ในระดับนานาชาติของการจัดอันดับโลกได้อย่างน่าภาคภูมิอย่าง มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) นั่นเอง
ในตอนที่ 6 ตอนที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จัก การศึกษาและระบบการศึกษาของมาเลเซีย รวมถึง มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) หนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนกันไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นความภูมิใจของชาวมาเลเซียมาแนะนำให้รู้จักกันครับ เพราะเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ขึ้นไปยืนอยู่ในระดับนานาชาติของการจัดอันดับโลกได้อย่างน่าภาคภูมิอย่าง มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) นั่นเอง
มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาลายาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1949 โดยปัจจุบันมีคณาจารย์จำนวน 2,500 คน และในปีค.ศ.2012 มหาวิทยาลัยได้แยกออกมาเป็นสถาบันอิสระจากกระทรวงอุดมศึกษาของมาเลเซีย และมีอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS World University Rankings ประจำปีค.ศ. 2012-2013 อยู่ในอันดับที่ 156 ของโลก
ประวัติของมหาวิทยาลัยมาลายานั้นเริ่มตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ ในสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โดยในช่วงปีค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปีค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปีค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปีค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และ วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์
ในปีค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะชื่อ มหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งสิงคโปร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ National University of Singapore)
คณะสาขาวิชาที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (Admissions)
ระดับปริญญาตรี :
1. จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเกรด 12 หรือมีคะแนน A-Levels
2. มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ
** ดาวน์โหลดใบสมัครและช่วงเวลาการสมัครประจำปีได้ ที่นี่ **
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก :
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับปริญญาเอก
2. มีคุณสมบัติเช่น ประสบการณ์การทำงานหรือตามการร้องขอเพิ่มเติมจากทางมหาวิทยาลัย (เฉพาะบางสาขาวิชา)
3. มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน หรือคะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
** สามารถดาวน์โหลดเอกสารการศึกษาต่อและประกาศรับสมัครประจำปีได้ ที่นี่ **
ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมาลายา
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมาลายายังมีทุนการศึกษาภายในอีกมากมาย สามารถศึกษาได้ ที่นี่ : ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยมาลายา
ระดับปริญญาตรี
หลักสูตร : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Faculty of Computer Science & Information Technology)
หลักสูตร : คณะทันตแพทยศาสตร์ (Faculty of Dentistry)
หลักสูตร : คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education)
หลักสูตร : คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
หลักสูตร : คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
หลักสูตร : คณะแพทยศาสตร์ (Faculty of Medicine)
หลักสูตร : คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)
หลักสูตร : คณะสิ่งแวดล้อม (Faculty of Built Environment)
ระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตร : ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตร : ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (Admissions)
ระดับปริญญาตรี :
1. จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเกรด 12 หรือมีคะแนน A-Levels
2. มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ
** ดาวน์โหลดใบสมัครและช่วงเวลาการสมัครประจำปีได้ ที่นี่ **
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก :
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับปริญญาเอก
2. มีคุณสมบัติเช่น ประสบการณ์การทำงานหรือตามการร้องขอเพิ่มเติมจากทางมหาวิทยาลัย (เฉพาะบางสาขาวิชา)
3. มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน หรือคะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
** สามารถดาวน์โหลดเอกสารการศึกษาต่อและประกาศรับสมัครประจำปีได้ ที่นี่ **
ค่าเล่าเรียน
ค่าครองชีพในการเรียนที่ประเทศมาเลเซียถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในฝั่งตะวันตกครับ ปีหนึ่งจะใช้จ่ายรวมทุกอย่างอยู่ที่ประมาณ 200,000-300,000 บาท ก็สามารถอยู่ได้สบายครับ
ค่าเล่าเรียนระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ)
-สาขาด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ตลอดหลักสูตร 3 ปีครึ่ง-4 ปี ประมาณ 350,000-400,000 บาท
-สาขาด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดหลักสูตร ประมาณ 500,000-700,000 บาท
ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > ค่าเล่าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมาลายา
ค่าเล่าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา
- ปีละประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป
ค่าที่พักอาศัย
-ค่าหอพักของมหาวิทยาลัย อยู่ที่ 3,000-9,000 บาท ต่อเดือน
ค่าเดินทาง
-เฉลี่ยอยู่ที่ 600 บาทต่อเทอม
ทุนการศึกษา
รัฐบาลมาเลียเซียมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ ด้วยความที่ต้องการให้ประเทศเป็นฮับทางการศึกษาในอาเซียนครับ ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่นักเรียนไทยสามารถสมัครได้มี 2 ทุนใหญ่ๆ ได้แก่
1. Malaysia International scholarship (MIS)
-รัฐบาลมาเลเซียพยายามที่จะดึงดูดนักเรียนที่มีความชาญฉลาดและดีที่สุดจากทั่วโลก ให้มาเรียนต่อในประเทศมาเลเซีย และทุนการศึกษา Malaysia International scholarship (MIS) นี้ ก็ค้นหานักเรียนที่มีความสามารถที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีประสบการณ์อัน น่าประทับใจ นักเรียนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีในการสมัครและ สามารถเลือกเรียนสาขาใดก็ได้ที่ต้องการ ทั้งในสถาบันเอกชนและรัฐบาล สามารถเข้าไปเว็บไซต์ mohe.gov เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ปิดรับสมัครวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
2. Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals
-ทุน Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals นี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของความรู้ในเอเชีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภูมิภาคเอเชียแปซิ ฟิค และเพื่อสร้างการเติบโตของความเป็นเอเชีย ทุน API ปิดรับสมัคร 31 สิงหาคม ของทุกปี
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมาลายายังมีทุนการศึกษาภายในอีกมากมาย สามารถศึกษาได้ ที่นี่ : ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยมาลายา
มาเลเซียไม่เพียงแค่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักเรียนจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ชาว Interscholarship หวังว่ามหาวิทยาลัยมาลายาจะเป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่น่าสนใจในการเรียนต่อไม่น้อยสำหรับนักเรียนไทยนะครับ ตอนหน้ายังคงอยู่ที่ประเทศมาเลเซียกันครับ ว่าแต่จะเป็นมหาวิทยาลัยไหนนั้น ติดตามได้เลย
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล : University of Malaya
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia)
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
Tony Teerati
ชม 3,617 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES