ลบ แก้ไข

Review ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ 2018 Part 2 (การตอบคำถาม)

 

Review ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ 2018 Part 2 (การตอบคำถาม)

 


จาก Part 1 ได้บอกถึงวิธีการ ขั้นตอนและกิจกรรม สำหรับตอนนี้ จะมาบอกถึงคำถามที่ทางทุนจะให้เราตอบเมื่อถึงช่วงเวลาเปิดรับสมัครกันนะคะ  


นุ่นยกคำแนะนำทั้งหมดมาจากหน้าเว็บไซต์หลักของทุน และอธิบายในแต่ละหัวข้อเพื่อให้เพื่อนๆ อ่านให้เข้าใจพร้อมคำแนะนำอย่างละเอียด หน้าเว็บไซต์ Before you apply for New Zealand Scholaship --> http://www.mfat.govt.nz/en/aid-and-development/new-zealand-government-scholarships/new-zealand-scholarships-for-international-tertiary-students/apply-online-for-a-new-zealand-scholarship/before-you-apply/ ซึ่งเข้าใจง่ายและสะดวกมากๆ สำหรับผู้สมัครปี 2019 เนื่องจากทางการได้บอกคำถามที่จะมีในใบสมัครให้เราเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าแล้ว (ซึ่งเป็นคำถามที่นุ่นตอบไปทั้งหมดในปี 2018 เหมือนกันเป๊ะเลยค่ะ) 


ข้อมูลทั่วไปที่ต้องกรอก 

"The New Zealand Scholarship application form requires you to:
provide your name, birth date, physical address and phone number
provide an email address: a current email address that you use regularly
list your preferred courses and the education institution for your scholarship"
 
ใบสมัครทุนจะให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ และเบอร์ติดต่อ
ข้อมูลสำคัญ เช่น e-mail ที่ใช้เป็นประจำ เนื่องจากการติดต่อระหว่างผู้สมัครและผู้ให้ทุนนั้นจะทำผ่าน e-mail เป็นหลัก
ลิส คอร์สหรือสาขาที่สนใจสมัคร และ สถาบันการศึกษาที่อยากเข้าศึกษาต่อ ทั้งระดับปริญญาโท และ เอก
 
Note: Your preferred courses must progress on from the highest qualification that you have previously completed.
ตรงนี้เค้าใส่ประกาศไว้นิดนึงว่า สาขาวิชาที่เราจะไปเรียนนั้นต้องต่อยอดจากระดับการศึกษาขั้นสูงสุดที่เรามี เช่น ถ้าเราจบ ป.ตรี เราก็ต้องสมัครเรียนต่อในระดับ ป.โท หรือ ถ้าเราจบ ป.โท แล้ว เราก็ต้องสมัครเรียนต่อในระดับ ป.เอก ต่อไป เป็นต้น
 
ต่อไป ส่วนของคำถาม นุ่นจะยกออกมาจากหน้า website ซึ่งตอนนี้ทางการทุนได้บอกรายละเอียดให้ล่วงหน้า ไม่เหมือนปีก่อนๆ ทำให้ผู้สมัครมีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าค่อนข้างนานและแม่นยำอีกด้วย

เรามาเริ่มที่คำถามแรกนะคะ

1. “describe how your preferred courses relate to one of our recommended study subjects for your country?”

ให้เราอธิบายว่าสาขาวิชาที่เราสนใจจะเรียนต่อนั้น เกี่ยวพันกับสาขาที่ทุนจะมอบให้สำหรับประเทศเราอย่างไร
ตัวอย่างเช่น ด้านพลังงาน ถ้าเราเรียนจบด้านนี้ หรือ ทำงานด้านนี้มาโดยตรงเราก็สามารถเคลมได้ และบอกว่าเราเข้าใจปัญหา หรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศของเราในด้านนี้ และสาขาที่ทุนแนะนำ หรือจะมอบให้เกี่ยวข้องอย่างไร หรือสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทางตรงหรือทางอ้อม หรือพัฒนาไปในทิศทางใด เราต้องอธิบายให้ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม ข้อความกระชับ ไม่ยืดเยื้อ
 
ปล. สำหรับปี 2018 ทุนให้ตอบได้ตอนละ 250 คำ ในทุกๆ ช่องคำถามเลย และเราไม่สามารถพิมพ์เกินได้เลยค่ะ ระบบจะล๊อคไว้อัตโนมติ
 
 
2. list the qualifications you have already completed

ส่วนนี้จะเป็นส่วนของประวัติการศึกษา ที่เราสำเร็จการศึกษาแล้ว โดยจะเน้นที่ระดับมหาวิทยาลัย เค้าจะให้เรากรอกอย่างละเอียดว่าเราเรียนสาขาใดมา หรืออาจจะเป็นอนุปริญญา มีผลการเรียนเท่าไร เป็นต้น
 
ตอนนี้จะเป็นช่องให้กรอก และอธิบายสั้นๆ นะคะ ไม่ยาวเท่าไร ไม่มั่นใจว่าปีนี้จะมีรูปแบบออกมาประมาณไหน ก็ต้องลุ้นกันต่อ
 

3. list any awards or prizes you have won, or articles you have published

ข้อนี้ ให้เรากรอกรางวัลต่างๆ ที่เคยได้รับ เช่น โปรเจค, โครงงาน หรือ บทความต่างๆ ที่เคยตีพิมพ์ (ถ้ามี) ถ้ามีเยอะ ก็ยิ่งดีนะคะ ปีล่าสุด ข้อนี้ไม่มี แต่รวมอยู่ในกิจกรรมที่เคยทำตอนยังเรียนอยู่มากกว่า
 

4. provide the details of previous jobs or work experience

ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญมากๆ ส่วนหนึ่งเลยค่ะ ก็คือ ประวัติการทำงานนั่นเอง เค้าจะพิจารณาว่างานที่เราทำนั้นเป็นอย่างไร และไม่ว่าจะเคยทำมากี่ที่ ก็กรอกให้หมดนะคะ ตั้งแต่ตอนฝึกงาน จนถึงทำงานจริงๆ ตอนปีที่แล้ว เค้าให้เราบอกจำนวนชั่วโมงงานด้วย ถ้าเราทำงาน full-time ก็ต้องมีจำนวนครบถ้วนตามกำหนด และ part-time ก็ตามกำหนดเช่นกัน แต่สามารถสมัครได้ แม้เราอาจจะยังลังเล ก็ให้สมัครไปก่อนนะคะ
 

5. describe how your work experience relates to your preferred courses or career (Note: School leavers and first year undergraduate applicants do not need work experience.)

ต่อมา เค้าให้เราอธิบายว่าประสบการณ์ทำงานของเรานั้นสัมพันธ์กับสาขาที่เราอยากไปเรียนต่ออย่างไร ตรงนี้ก็เป็นข้อทำคะแนนค่ะ ถ้างานของเราสัมพันธ์โดยตรง และอธิบายได้อย่างชัดเจนจะดีงามมากๆ เลยค่ะ
ข้อต่อจากนี้ จะเป็นข้อสำคัญ และใช้เวลาในการตอบทุกข้อ ดังนั้นเทคนิคเดียวและสำคัญที่สุดคือ คิดให้ตกผลึกมากที่สุด และเขียนออกมาด้วยความจริงที่เป็นตัวเราเองที่สุด นี่คือสิ่งสำคัญที่เค้าจะพิจารณา โดยเฉพาะเมื่อเราเข้ารอบสัมภาษณ์นะคะ ไปต่อกันเลยค่ะ


6. describe the skills and knowledge you want to gain from your preferred courses

ข้อนี้ ให้เราบรรยายทักษะและความรู้ที่เราต้องการอยากจะได้จากสาขาวิชาที่เราต้องการจะไปเรียน ข้อนี้ควรจะกำหนด และเขียนให้ชัดเจนเลย เช่น ทักษะอะไรบ้างที่คาดว่าจะได้รับ  1 2 3 4 ลิสออกมา และความรู้ในเรื่องใด ฉะนั้นข้อแนะนำคือให้ดูว่า สาขาที่เราเลือกจะไปเรียนนั้น เค้า offer อะไร ตรงกับความต้องการแค่ไหน จะช่วยให้คำตอบเราตรงประเด็น และมี focus มากขึ้นด้วยค่ะ

7. describe how these skills and knowledge are important to your country’s social and economic development

ต่อมา อธิบายว่า ทักษะและความรู้เหล่านี้สำคัญกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเราอย่างไร ข้อนี้ก็เป็นอีกข้อทำคะแนน คำแนะนำคือ เขียนให้สัมพันธ์กัน เชื่อมโยงปัญหา ความรู้และทักษะ การนำไปใช้ หรือแนวทางที่เราจะนำความรู้เหล่านี้มาพัฒนา ว่าหากได้มาซึ่งทักษะและความรู้แล้ว จะดีต่อประเทศชาติอย่างไร พยายามเน้นการตอบเชิงปฏิบัติ เป็นขั้นตอน เห็นภาพ และเป็นไปได้จริงนะคะ
                               
ข้อที่ 8 – 9 – 10 เป็นข้อที่เค้าจะประเมินทักษะการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ของเรา เค้าจะให้เรายกตัวอย่างเหตุการณ์มา และคำอธิบายว่าเรามีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร ตอนนี้ มี 3 คำถาม คำถามละ 250 นะคะ ข้อแนะนำ คือ ให้เลือกเหตุการณ์จากช่วงเวลาการทำงานของเรา ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน และวิธี หรือแนวคิดที่เรานำมาใช้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไปดูกันทีละข้อเลยนะคะ


8. describe a situation when you had a problem and solved it
“อธิบายสถานการณ์ที่เรามีปัญหาและต้องแก้”

ตรงนี้เราสามารถยกตัวอย่างได้เลย แนะนำให้เลือกปัญหาจากการทำงาน เช่น  เพื่อนร่วมงานมีปัญหากัน หรือ ทำโปรเจคไม่ประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลต่างๆ เราก็เขียนไปว่าเราแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร
 

9. describe a situation when you created a successful relationship at work or with someone in a community group

“อธิบายสถานการณ์ที่เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานกับใครบางคน หรือกับกลุ่มคนที่เราทำงานด้วย”

ตรงนี้ เราต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าตัวเราใช้วิธีในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร ความคิด การเข้าหาคน หรือการสื่อสารที่เราใช้จริงและเห็นผลจริง โดยนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี ในนี้เรียกว่าเป็น successful relationship เพื่อประเมินว่าตัวเรานั้นสามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่ และด้วยทัศนคติเช่นไร การอธิบายตัวตนของเราต้องชัดเจน และตรงไปตรงมานะคะ
ข้อแนะนำ นุ่นเองก็ไม่ทราบว่ากรรมการคัดเลือกนั้นมีหน่วยงานไหนบ้าง แน่นอนเราจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติสังคมของชาวกีวี ซึ่งค่อนข้างจะเรียบง่าย แต่เจนในความคิด ตรงไปตรงมา แต่ก็มีความผ่อนคลายเช่นกัน เน้นความเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด ตอบทุกคำถามด้วยความจริงใจและความซื่อสัตว์ไม่ต้องสร้างภาพนะคะ


10. describe a situation when you had to work very hard to achieve your goals

“อธิบายสถานการณ์ที่เราต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเรา”

ตรงนี้เป็นข้อทำคะแนนที่ดี ที่จะทำให้เค้าเห็นว่าเรามีความมุ่งมั่นในการทำงานแค่ไหน ใช้วิธีการอย่างไร และผลสำเร็จเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น การสามารถนำเสนอโปรเจคผ่าน หรือ เราบริหารทีมให้ทำงานลุล่วงในกิจกรรมต่างๆ หรือถ้าเป็นนักวิจัย ก็อาจจะอธิบายถึงการวางแผนการทำงาน ที่นำมาซึ่งความสำเร็จก็ได้ เช่นกัน เน้นประสบการณ์จริงๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เอาเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จก็ได้ ถ้าเป็นเด็กจบใหม่ ก็อาจจะเขียนถึงการจัดการเวลา การเรียน ให้ได้มาซึ่งเกียรตินิยมก็ได้นะคะ


11. provide convincing reasons why you want to study in New Zealand

ต่อมาคือ “อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ (น่าดึงดูดให้กรรมการเลือกเรา นั่นเอง) ว่าทำไมเราถึงอยากเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์"

ข้อนี้อาจจะต้องทำการบ้านนิดหนึ่งนะคะ วิเคราะห์ข้อดี และข้อด้อย ส่วนตัวนุ่นเขียนเชิง argumentative ไปค่ะ เช่น เราเลือกที่นิวซีแลนด์เพราะความเงียบสงบของสังคม ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ธรรมชาติ หรือความโดดเด่นในสาขาที่เราเลือก ชาวกีวีค่อนข้างจะมีความภูมิใจในประเทศและวัฒนธรรมของเค้ามากๆ ฉะนั้นเขียนยกยอ แต่ไม่ over exaggerate จนเกินไป ให้เค้าเชื่อว่า เราอยากไปจริงๆ และมั่นใจว่าจะได้สิ่งที่ต้องการจากการเลือกไปศึกษาต่อที่นี่อย่างแน่นอน


12. describe what challenges you could find as a new scholar in New Zealand and how you would deal with these challenges.

ข้อสุดท้าย “อธิบายถึงความท้าทายที่จะพบในฐานะ นักศึกษา หรือนักวิชาการ ในนิวซีแลนด์ และเราจะสามารถรับมือจัดการกับความท้าทายนี้อย่างไร”
                               
ข้อนี้ต้องใช้จินตนาการ และความคาดเดาว่า ถ้าเราไป เราอาจจะต้องเผชิญกับอะไร เช่น วัฒนธรรมที่แตกต่าง การที่ต้องอยู่ไกลบ้าน ไกลครอบครัว ไกลคนรัก อาหารที่ไม่คุ้นเคย อากาศที่หนาวเกินไป ความเหงา หรือความยากของบทเรียนในระดับที่สูงขึ้น เราสามารถบรรยายได้อย่างตรงไปตรงมาถึงความกลัวในใจ ซึ่งถือเป็นความท้าทาย และเราจะจัดการอย่างไร ต้องมั่นใจว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เราจะทำเช่นนั้นให้กรรมการเห็นภาพนะคะ เท่านี้ นุ่นเชื่อว่าทุกๆ คนสามารถทำได้สบายๆ
 
 
ใครอ่านมาจนถึงตรงนี้ ปรบมือให้ตัวเองด้วยนะคะ เก่งมาก!!! 

เป็นยังไงกันบ้าง กว่าจะเป็นนักเรียนทุนได้ ต้องตอบคำถามเยอะมากๆ เลยใช่ไหมคะ 
นุ่นเองใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2 สัปดาห์กว่าๆ เฉพาะการตอบคำถาม รีวิว แก้ไข และ proofread ซึ่งมีอาจารย์ช่วยตรวจแกรมม่าให้ด้วยนิดหน่อย ตรงนี้ก็สำคัญนะคะ นุ่นแนะนำว่าเราควรจะมีที่ปรึกษาช่วยเราอ่านใบสมัครอย่างน้อย 1 คน เพื่อเช็คความถูกต้อง และให้ใบสมัครของเราออกมาสมบูรณ์แบบที่สุดค่ะ 

หากใครสนใจ ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถคอมเม้นลงใต้โพสนี้ได้ หรือจะติดต่อนุ่นก็ได้นะคะ ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ 

ฝากติดตามกันด้วยที่เพจ Facebook : Kru Noon Eduzones http://www.facebook.com/easyenglishbynoon/ 

ส่วนใครที่พลาด และยังไม่ได้อ่านรีวิว Part 1 ไป สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งนี้เลยค่ะ http://th.interscholarship.com/missnoon/3189


ขอเป็นกำลังใจให้ผู้มีฝันและความมุ่งมั่นทุกคนนะคะ 
การลงทุนที่ดีที่สุดกับชีวิตคือการศึกษา และไม่มีอะไรในโลกใบนี้ดีเท่ากับการศึกษาฟรี อีกแล้ววว สู้ๆ จ้าาาา


 

Suphisara Chinakkarapong ชม 2,531 ครั้ง


TOP RELATED


NEW STORIES


Comment