ลบ
แก้ไข
Review ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ (ป.โท)2018 (อย่างละเอียด)
สิ่งที่จะมีในรีวิวต่อไปนี้
1.อยากเรียนต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ต้องทำอย่างไร?
แรกเริ่มก่อนจะสมัครทุน ต้องอ่านรายละเอียดทุนให้ดีก่อน ว่าทุนนี้ให้ประเทศไหนบ้างและ เค้ามีจุดประสงค์ในการให้ทุนอย่างไร (ใส่ลิ้ง)
ทุนนี้ถ้าไม่อ่านรายละเอียดดีๆ อาจจะดูไม่น่าสนใจมากเท่าไร หากไม่รู้จักประเทศนิวซีแลนด์ แต่ส่วนตัวนุ่นมองว่าเป็นทุนที่ใจดีมากกกกกกกกกกก ใจดียังไง
นุ่นสมัครโดยได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ ซึ่งเป็นทุนแรกในชีวิตที่สมัครแล้วก็ได้เลยเพราะมีสาขาที่สนใจและตรงกับคุณสมบัติ
New Zealand ASEAN Scholarships ซึ่งเป็นทุนเพื่อการพัฒนาที่ให้กับตัวแทนประเทศในแถบอาเซียนทั้งหมด ยกเว้น สิงคโปร์ (เนื่องจากเป็น developed country ไปแล้ว) ส่วนประเทศไทยได้โควตา 4 ทุน รวม ป.โท และ ป.เอก ทำให้ทุกคนมีโอกาสแข่งขันกันภายในประเทศ ไม่ต้องไปแข่งกับประเทศอื่น เหมือนหลายๆ ทุน เช่น Chevening หรือ Endeavor
**ข้อดี 4 ทุนนี้สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ แข่งขันภายในเท่านั้น**
2. เมื่อทราบเบื้องต้นแล้ว ก็มาเช็ค สาขาที่ทุนจะมอบให้กับตัวแทนประเทศไทยเลยค่ะ
ประเทศไทย ตอนนี้มีสาขาที่เป็น priority ที่ทุนอยากจะมอบให้ ดังนี้
**อันนี้สำหรับปี 2019 นะคะ หากใครวางแผนหรืออยากไปศึกษาต่อ และสนใจด้านนี้อยู่แล้ว เตรียมตัวได้เลยค่ะ**
น่าเสียดายที่สาขาที่นุ่น และรุ่นพี่เคยสมัคร คือ Education and English Language Teaching การสอนภาษาอังกฤษมีแนวโน้มว่าจะไม่เปิดรับในปีนี้ค่ะ
ตอนนี้เค้ารวมทุนไว้สำหรับ ASIA นะคะ ไม่เป็น ASEAN แล้ว
3. คุณสมบัติที่สำคัญ
**สำหรับปี 2019 จะมีแบบสอบถามให้ทำ** แต่สิ่งที่นุ่นจะบอกคือ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจและเตรียมให้พร้อมก่อนสมัครจะทำให้การสมัครราบรื่นยิ่งขึ้นค่ะ
ไม่จำเป็นต้องสมัครมหาวิทยาลัยก่อนก็ได้ (ก่อนหน้านี้จำเป็นต้องสมัครมหาวิทยาลัยก่อน) เราสามารถสมัครทุนก่อน เมื่อคุณสมบัติผ่านหรือสอบผ่านรอบสัมภาษณ์แล้วจึงค่อยดำเนินการ) ซึ่งถ้าตั้งใจแล้วก็ควรเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม เช่น ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS หรือ TOELF ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
อ่านรายละเอียดคุณสมบัติได้ที่นี่ http://www.mfat.govt.nz/en/aid-and-development/new-zealand-government-scholarships/new-zealand-scholarships-for-international-tertiary-students/check-if-you-are-eligible-to-apply-for-a-new-zealand-scholarship/
4. เอกสารที่ต้องเตรียมและสิ่งที่ต้องทำในช่วงสมัครทุน
การกรอกใบสมัคร Online จะมีเวลาจำกัด ซึ่งเราต้อง upload เอกสารทั้งหมด รวมถึงการตอบคำถามออนไลน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นสิ่งที่เตรียมได้คือเอกสาร เตรียมไว้ให้เรียบร้อยเลยค่ะ
5. เลือกสาขาและมหาวิทยาลัย
เนื่องจากในใบสมัครออนไลน์เค้าจะให้เราเลือกสาขาและมหาวิทยาลัยไว้เลย 2 อันดับ แน่นอนว่า อันดับที่ 1คือที่ที่เราอยากได้ที่สุด และต้องตรงกับ priority ที่เค้ากำหนดไว้ของประเทศไทยนะคะ อันดับ 2 คือ สำรองค่ะ ทั้ง 2 ตัวเลือกเราต้องเลือกทั้งสองมหาวิทยาลัยเอง สามารถเข้าดูได้ที่นี่ --> http://www.mfat.govt.nz/en/aid-and-development/new-zealand-government-scholarships/new-zealand-scholarships-for-international-tertiary-students/research-which-courses-to-study/
อย่างที่บอก ปี 2019 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้า Website เยอะ พอสมควรนะคะ แนะนำว่าให้เข้าไปอ่านใน Website ของ Immigration New Zealand โดยตรงได้เลย ซึ่งเค้าจะอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนไว้ค่อนข้างชัดเจนมากค่ะ
ตรงนี้ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร อยากให้ลิสออกมา วางแผน แล้วดูว่าตรงกับคุณสมบัติของเราหรือไม่ จะได้เรียนที่อยากเรียนที่สุด เมื่อถึงเวลาสมัครเราจะได้กรอก และมีเวลาทบทวนเยอะๆ นะคะ
รีวิวนี้เป็นส่วนของการสมัคร และการเตรียมตัว Part 1 นะคะ กลัวจะยาวเกินไป เดี๋ยวจะมาเขียน Part 2 คือ เอาคำถามใน Online Application จากที่นุ่นได้เมื่อปีที่แล้วมาแบ่งปัน รวมถึงการเตรียมตัวตอนสัมภาษณ์ เพื่อแนะนำเทคนิคการเขียนในอีกโพสนะคะ ไว้จะมาแปะให้ทุกคนได้ติดตามค่ะ
ระยะเวลาสมัคร ทุนจะแจ้งประกาศออกมาให้ทราบประมาณช่วงปลายปีนะคะ เราจะมีเวลาอ่านกฎเกณฑ์ต่างๆ พอสมควร และเปิดช่วง มีนา – เมษา ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้น ก็รอผลซึ่งปีของนุ่นถือว่าเร็วมากๆ ค่ะ
อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสมัครดีที่สุดดด
ฝากติดตามและแบ่งปันออกไปด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า
ทุกคนสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับทุนการศึกษา หรือ ความรู้ภาษาอังกฤษได้ที่
Facebook: Kru Noon Eduzones http://www.facebook.com/easyenglishbynoon
Website: Interscholarship หรือ Facebook Interscholarship
Review การสมัครทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ 2018 Part 1
Review ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์ (ป.โท)2018 (อย่างละเอียด)
สิ่งที่จะมีในรีวิวต่อไปนี้
- สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนสมัครทุน
- Check Eligibility หรือคุณสมบัติของประเทศและ สาขาที่เปิดรับสมัคร
- คุณสมบัติสำคัญของผู้สมัคร
- เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนทุนเปิดรับสมัคร
- เลือกสาขาและมหาวิทยาลัยก่อนสมัคร **ข้อนี้จะเลือกก่อนเลยก็ได้**
1.อยากเรียนต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ต้องทำอย่างไร?
แรกเริ่มก่อนจะสมัครทุน ต้องอ่านรายละเอียดทุนให้ดีก่อน ว่าทุนนี้ให้ประเทศไหนบ้างและ เค้ามีจุดประสงค์ในการให้ทุนอย่างไร (ใส่ลิ้ง)
ทุนนี้ถ้าไม่อ่านรายละเอียดดีๆ อาจจะดูไม่น่าสนใจมากเท่าไร หากไม่รู้จักประเทศนิวซีแลนด์ แต่ส่วนตัวนุ่นมองว่าเป็นทุนที่ใจดีมากกกกกกกกกกก ใจดียังไง
- เป็นทุนเต็มจำนวน Full- scholarship คือ ฟรีค่าเล่าเรียนทั้งหมด
- Living allowance NZ$491 per week ค่าใช้จ่าย กินอยู่รายสัปดาห์ (ประมาณหมื่นกว่าบาท)
- Establishment allowance NZ$3,000 เป็นค่าตั้งต้นเพื่อเตรียมอยู่อาศัยที่นิวซีแลนด์เช่น ค่าที่พัก เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์การเรียนต่างๆ ในช่วงแรก
- ประกันสุขภาพ
- ตั๋วเดินทาง ไป-กลับ
- ประกันการเดินทาง
- ตั๋วเดินทางไป-กลับบ้าน ระหว่างปีการศึกษา อาจจะ 1-2 ทริป ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของทุน
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อทำวิจัย หรือ Thesis
- ของแถมอีกอย่างคือ สำหรับคนที่แต่งงานแล้ว หรือมีแฟนที่คบหามานาน หรือครอบครัว สามารถขอวีซ่าพาพวกเขาไปอยู่ด้วยได้ โดยทางนิวซีแลนด์จะออกวีซ่าทำงาน หรือเรียนให้(สำหรับลูก) ซึ่งตรงนี้ต้องทำการสมัครวีซ่าด้วยตนเอง และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
- ไม่ต้องใช้ทุนคืน! ใช่ค่ะ อ่านถูกแล้ว ไม่ต้องใช้ทุนคืน แต่... มีข้อแม้คือต้องกลับมาอยู่ประเทศไทย อย่างน้อย 2 ปี ห้ามไปอยู่ที่อื่น หรือกลับไปนิวซีแลนด์ เพื่อนำความรู้ ความสามารถมาใช้พัฒนาประเทศตามจุดประสงค์ของทุน
นุ่นสมัครโดยได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ ซึ่งเป็นทุนแรกในชีวิตที่สมัครแล้วก็ได้เลยเพราะมีสาขาที่สนใจและตรงกับคุณสมบัติ
New Zealand ASEAN Scholarships ซึ่งเป็นทุนเพื่อการพัฒนาที่ให้กับตัวแทนประเทศในแถบอาเซียนทั้งหมด ยกเว้น สิงคโปร์ (เนื่องจากเป็น developed country ไปแล้ว) ส่วนประเทศไทยได้โควตา 4 ทุน รวม ป.โท และ ป.เอก ทำให้ทุกคนมีโอกาสแข่งขันกันภายในประเทศ ไม่ต้องไปแข่งกับประเทศอื่น เหมือนหลายๆ ทุน เช่น Chevening หรือ Endeavor
**ข้อดี 4 ทุนนี้สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ แข่งขันภายในเท่านั้น**
2. เมื่อทราบเบื้องต้นแล้ว ก็มาเช็ค สาขาที่ทุนจะมอบให้กับตัวแทนประเทศไทยเลยค่ะ
ประเทศไทย ตอนนี้มีสาขาที่เป็น priority ที่ทุนอยากจะมอบให้ ดังนี้
- Climate change and Resilience / Climate Change and the Environment: ด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลก สิ่งแวดล้อม การวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่ง New Zealand เป็น expert อยู่แล้ว
- Disaster Risk Management: การจัดการความเสี่ยงทางภัยพิบัติ
- Food and Security and Agriculture: อาหารและความปลอดภัย และเกษตรกรรม
- Renewable Energy: พลังงานทางเลือก การจัดการและนโยบาย
- Governance: การเมืองการปกครอง ในสาขา Public policy, public service management
**อันนี้สำหรับปี 2019 นะคะ หากใครวางแผนหรืออยากไปศึกษาต่อ และสนใจด้านนี้อยู่แล้ว เตรียมตัวได้เลยค่ะ**
น่าเสียดายที่สาขาที่นุ่น และรุ่นพี่เคยสมัคร คือ Education and English Language Teaching การสอนภาษาอังกฤษมีแนวโน้มว่าจะไม่เปิดรับในปีนี้ค่ะ
ตอนนี้เค้ารวมทุนไว้สำหรับ ASIA นะคะ ไม่เป็น ASEAN แล้ว
3. คุณสมบัติที่สำคัญ
**สำหรับปี 2019 จะมีแบบสอบถามให้ทำ** แต่สิ่งที่นุ่นจะบอกคือ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจและเตรียมให้พร้อมก่อนสมัครจะทำให้การสมัครราบรื่นยิ่งขึ้นค่ะ
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
- เป็นคนไทยโดยกำเนิด และไม่ถือสองสัญชาติ
- ไม่อยู่ในช่วงเกณฑ์ทหาร
- คุณสมบัติทางภาษาพร้อม (อันนี้แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าเป็น IELTS ทุก bands ไม่ควรต่ำกว่า 6 หรือ 6.5 overall ไม่ต่ำกว่า 6.5) เช็คกับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้เลยค่ะ
- ไม่เคยละเมิดกฎทุนหรือผลการเรียนต่ำในขณะรับทุนในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
- เคยมีประสบการณ์ทำงาน Full-time อย่างน้อย 1 ปีเต็ม หรือ Part-time 2 ปี เป็นอย่างต่ำ **ข้อนี้สำคัญนะคะถ้าไม่มีประสบการณ์เค้าไม่รับเลยค่ะ
ไม่จำเป็นต้องสมัครมหาวิทยาลัยก่อนก็ได้ (ก่อนหน้านี้จำเป็นต้องสมัครมหาวิทยาลัยก่อน) เราสามารถสมัครทุนก่อน เมื่อคุณสมบัติผ่านหรือสอบผ่านรอบสัมภาษณ์แล้วจึงค่อยดำเนินการ) ซึ่งถ้าตั้งใจแล้วก็ควรเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม เช่น ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS หรือ TOELF ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
อ่านรายละเอียดคุณสมบัติได้ที่นี่ http://www.mfat.govt.nz/en/aid-and-development/new-zealand-government-scholarships/new-zealand-scholarships-for-international-tertiary-students/check-if-you-are-eligible-to-apply-for-a-new-zealand-scholarship/
4. เอกสารที่ต้องเตรียมและสิ่งที่ต้องทำในช่วงสมัครทุน
การกรอกใบสมัคร Online จะมีเวลาจำกัด ซึ่งเราต้อง upload เอกสารทั้งหมด รวมถึงการตอบคำถามออนไลน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นสิ่งที่เตรียมได้คือเอกสาร เตรียมไว้ให้เรียบร้อยเลยค่ะ
- สำเนา Transcript ที่รับรองจากมหาวิทยาลัย
- สำเนาหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Certificate of Completion
- สำเนาใบปริญญา
- สำเนาผลสอบ IELTS หรืออื่นๆ (ไม่เกิน 2 ปี)
- RESUME หรือ Curriculum Vitae
- Reference (Recommendation letters) อันนี้ ปี 2017 ที่นุ่นสมัครไป เค้าไม่ได้ขอนะคะ แต่ถ้ามีเตรียมไว้ หรือติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานไว้ล่วงหน้าเผื่อเค้าเรียกก็จะดีมากๆ ค่ะ
5. เลือกสาขาและมหาวิทยาลัย
เนื่องจากในใบสมัครออนไลน์เค้าจะให้เราเลือกสาขาและมหาวิทยาลัยไว้เลย 2 อันดับ แน่นอนว่า อันดับที่ 1คือที่ที่เราอยากได้ที่สุด และต้องตรงกับ priority ที่เค้ากำหนดไว้ของประเทศไทยนะคะ อันดับ 2 คือ สำรองค่ะ ทั้ง 2 ตัวเลือกเราต้องเลือกทั้งสองมหาวิทยาลัยเอง สามารถเข้าดูได้ที่นี่ --> http://www.mfat.govt.nz/en/aid-and-development/new-zealand-government-scholarships/new-zealand-scholarships-for-international-tertiary-students/research-which-courses-to-study/
อย่างที่บอก ปี 2019 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้า Website เยอะ พอสมควรนะคะ แนะนำว่าให้เข้าไปอ่านใน Website ของ Immigration New Zealand โดยตรงได้เลย ซึ่งเค้าจะอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนไว้ค่อนข้างชัดเจนมากค่ะ
ตรงนี้ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร อยากให้ลิสออกมา วางแผน แล้วดูว่าตรงกับคุณสมบัติของเราหรือไม่ จะได้เรียนที่อยากเรียนที่สุด เมื่อถึงเวลาสมัครเราจะได้กรอก และมีเวลาทบทวนเยอะๆ นะคะ
รีวิวนี้เป็นส่วนของการสมัคร และการเตรียมตัว Part 1 นะคะ กลัวจะยาวเกินไป เดี๋ยวจะมาเขียน Part 2 คือ เอาคำถามใน Online Application จากที่นุ่นได้เมื่อปีที่แล้วมาแบ่งปัน รวมถึงการเตรียมตัวตอนสัมภาษณ์ เพื่อแนะนำเทคนิคการเขียนในอีกโพสนะคะ ไว้จะมาแปะให้ทุกคนได้ติดตามค่ะ
ระยะเวลาสมัคร ทุนจะแจ้งประกาศออกมาให้ทราบประมาณช่วงปลายปีนะคะ เราจะมีเวลาอ่านกฎเกณฑ์ต่างๆ พอสมควร และเปิดช่วง มีนา – เมษา ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้น ก็รอผลซึ่งปีของนุ่นถือว่าเร็วมากๆ ค่ะ
อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสมัครดีที่สุดดด
ฝากติดตามและแบ่งปันออกไปด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า
ทุกคนสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับทุนการศึกษา หรือ ความรู้ภาษาอังกฤษได้ที่
Facebook: Kru Noon Eduzones http://www.facebook.com/easyenglishbynoon
Website: Interscholarship หรือ Facebook Interscholarship
Suphisara Chinakkarapong
ชม 26,336 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES