ลบ แก้ไข

Tips ในการสมัครทุน Chevening

 
Tips การสมัคร Chevening


วันนี้ทางเพจ Interscholarship ได้รับเกียรติจากคุณ TOMMY S. CHAIYA
ในการแชร์ประสบการณ์การสมัครทุน Chevening ซึ่งคุณ Tommy นั้น
เคยสมัครทุนประจำปี 2016 และผ่านการคัดเลือก เราจึงอยากจะนำ Tips ของคุณ Tommy
ในการสมัครทุน Chevening มาแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่สนใจ



ข้อดีอย่างหนึ่งของทุน Chevening นั้น ผมคิดว่าเป็นทุนที่ขอเอกสารไม่ได้โหดเท่ากับทุนอื่นๆ
- ข้อแรก คือ ขอแค่เอกสารทั้งหมดเป็นไฟล์สแกนเท่านั้น ไม่ต้องส่งตัวจริงตามไป
(บางมหาวิทยาลัยขอเอกสารตัวจริง เช่น U of Birmingham แต่ส่วนมากไม่ขอครับ)
- ข้อสอง คือ เราไม่จำเป็นต้องรีบยื่นคะแนนภาษาอังกฤษและตัว offer จากมหาวิทยาลัย
ในวันที่คุณยื่นใบสมัครกับทุน Chevening (หมายเหตุ แต่ผมเองคิดว่าถ้ายื่นทัน แนะนำให้ยื่นไปให้ครบเลยครับ
มันแสดงถึงความเตรียมพร้อมของเรา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุนเองไม่ได้กำหนดว่าเราต้องพร้อมทั้งหมดครับ)
- ข้อสาม คือ ถ้าเราได้ผลสอบภาษา หรือ offer จากมหาวิทยาลัยมาแล้ว เราสามารถอัพเดท
เข้าไปเพิ่มในใบสมัครทุนของเราได้ ถึงแม้จะผ่าน deadline ของทุนแล้วก็ตาม
พูดถึงข้อดีไปแล้ว ขอพูดถึงของอีกด้านของการสมัครทุน Chevening ครับ
- ข้อแรก คือ จำนวนผู้สมัครแข่งขันเพิ่มขึ้นมากทุกปีครับ ปีล่าสุด ผมได้ข้อมูลมาว่ามีผู้สมัคร 9000 คน
เข้ารอบสัมภาษณ์ 90 คน และได้ทุนจริงๆ 30 คนครับ
(ถึงแม้จะดู percentage แล้วน้อยมากก็ตาม
แต่ทุกอย่างเป็นไปได้ครับ ตรงนี้เอง แทนที่เราจะท้อ เราควรจะนำมาเป็นแรงขับให้เราทำจดหมายยื่นทุนของเรา
โดดเด่นกว่าคนเป็นพันได้อย่างไร ผมจะแชร์เทคนิคในตอนต่อๆ ไปนะครับ)
- ข้อสอง คือ ขั้นตอนการพิจารณาทุนยาวนานใช้ได้เลยครับ จากเริ่มสมัครตอนเดือนสิงหาคมของปีแรก
กระบวนการจะไปสิ้นสุดลงที่เดือนมิถุนายนปีต่อไปครับ อันนี้เพราะว่า Chevening เป็นทุนที่เปิดรับสมัครระดับโลก
จึงมีขั้นตอนพิจารณาหลาย layer พอใช้ได้
- ข้อสาม คือ การประกาศผลเข้ารอบแต่ละขั้น เช่น ผลการพิจารณาเอกสารขั้นต้น ผลการสอบสัมภาษณ์
จะไม่มีวันที่บอกเราแน่นอน
(ผมเองมีบางช่วงที่นอนไม่หลับ เกิด anxiety attack หลายรอบ
เพราะการลุ้นผลหลายรอบมาก ฉะนั้น เตรียมตัวเตรียมใจกันให้ดี ไม่งั้นสติแตกครับ)
ปีนี้ 2017-2018 ทุน Chevening เปิดรับสมัครวันแรก 7 August ไปจนถึง 7 November นะครับ
สำหรับตารางปีนี้ดูได้ที่นี่ครับ http://www.chevening.org/apply/appl...
ก่อนจะไปสมัครเรามาดูกันว่า คุณผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทุนกำหนดไว้หรือไม่ อ้างอิงจาก http://www.chevening.org/apply/elig...
1. มีสัญชาติไทย
2. จบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ขั้นสูง (Upper second-class honours)
ตามระบบอังกฤษ หรือเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.0
3. มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี (เทียบเป็น 2,800 ชั่วโมง)
4. ได้คะแนนการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
(ผมเองใช้ TOEFL ยื่นครับ ไม่มีปัญหา แต่ว่าแนะนำให้เช็คกับมหาลัยวิทยาก่อนว่ารับ TOEFL ไหม)
5. ได้รับ unconditional offer จากมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 1 แห่งใน UK
ถ้าคิดว่าผ่านตามเกณฑ์ข้างต้นแล้ว เราลองมาดูว่าเราต้องเตรียมอะไรกันบ้าง
ผมจะเอาเอกสารหรือการตัดสินใจที่ต้องเริ่มก่อนไว้บนสุดนะครับ
(เพราะจากประสบการณ์ของผมนั้นใช้เวลานานสุด หรือต้องเกิดขึ้นก่อนเพราะมันจะมีผลกับการตัดสินใจ)
1. การเลือกมหาวิทยาลัย และคณะที่เราอยากเรียน (ผมแนะนำว่าให้เอาที่เรา passionate และตรงกับ
career path ที่เราจะทำในอนาคต) สามารถหาดูได้จาก http://www.chevening.org/find-a-cou...
สาเหตุที่เราต้องมั่นใจว่าเราจะเอามหาวิทยาลัยไหน เพราะเราต้องมั่นใจว่าเราจะได้ unconditional offer
จากมหาวิทยาลัยหนึ่ง ตอนยื่นใบสมัครทุนเราจะต้องเลือก 3 programs ที่เราอยากเรียนที่สุด
โดยเราจะเปลี่ยนไม่ได้อีกแล้วนะครับ ฉะนั้นอ่านให้ดึว่าเราถึงเกณฑ์ไหม ต้องใช้อะไรยื่นบ้าง
สอบภาษาอังกฤษแบบไหนยื่นได้บ้าง และต้องใช้คะแนนเท่าไหร่ ถ้าหลุดไม่ได้ unconditional offer
จากสาม choices นี้ ก็ไม่ได้ทุนนะครับ ฉะนั้นก่อน deadline ของทุน เราควรสมัครเอาสามที่ที่เราชอบสุด
และชัวร์สุดว่าได้แน่ๆ ใส่ไปในตอนยื่นทุน (จากประสบการณ์ U of Sussex เป็นอะไรที่ตอบรับไวมากครับ
แนะนำว่าถ้าสนใจหรือรีบ ให้ยื่น Sussex ครับ ผมได้รับตอบรับภายใน 1-2 สัปดาห์เอง efficient มากครับ)
2. หาบุคคลอ้างอิงครับ เริ่มติดต่อเค้าไว้เลยว่าเราจะสมัคร ทุนจะขอ reference 2 คนครับ
แล้วมหาวิทยาลัยแต่ละมหาลัยจะขออีกสองคนเหมือนกัน ผมใส่ไว้ข้อแรกๆ เพราะว่าบุคคลอ้างอิง
เค้าอาจจะยุ่งมาก ให้เวลาเค้าเขียนให้คุณจะดีมากครับ ควรจะส่งรายละเอียดทุนและรายละเอียด course
ที่คุณเลือกด้วย เค้าจะได้เขียนให้ตรงกับสิ่งที่คุณอยากจะโชว์ แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี protocol ที่แตกต่างกัน
เช่น บางมหาวิทยาลัยให้ reference เรากรอกในเว็บเลย หรือบางที่จะให้ส่งเป็น file แนบ เช็คดีๆ นะครับ
จะได้ไม่ทำให้ reference คุณงงได้
3. เตรียมเอกสารการจบระดับตรี เช่น ใบจบหรือเกียรติบัตร และ transcript เพราะบางมหาวิทยาลัย
ใช้เวลานาน ถ้าเป็นภาษาไทยต้องส่งแปลด้วยนะครับ
4. เตรียมตัวสอบภาษาอังกฤษ (IELTS หรือ TOEFL) แนะนำให้เช็คกับมหาวิทยาลัยครับว่าใช้ตัวไหนดีกว่า
(IELTS น่าจะ safe กว่า) ทุนรับทั้งสองครับ ถึงทุนบอกว่าไว้ยื่นทีหลังได้ แต่เราต้องใช้ผลสอบในการสมัคร
มหาวิทยาลัย ฉะนั้นผมแนะนำให้สอบแต่เนิ่นๆ เผื่อว่าเราจะต้องสอบซ่อมและเผื่อผลสอบออกช้ากว่ากำหนด
5. เช็คพาสปอร์ตว่าวันหมดอายุต่ำกว่า 6 เดือนหรือเปล่า ถ้าใกล้หมด รีบไปทำใหม่ครับ
ข้างบนเป็นเอกสารที่เราต้องไปเอาจากคนอื่นนะครับ ถ้าเรา process ทุกอย่างไปแล้ว
ในช่วงที่รอให้ทุกอย่างดำเนินไปตามขั้นตอนของมัน ให้เราหันมาเตรียมในสิ่งที่เรา control ได้
1. อ่านขั้นตอนการสมัครทุนผ่านระบบออนไลน์ เอาให้เข้าใจ ขึ้นใจจะได้รู้ว่าต้องใส่ข้อมูลอะไรบ้าง
และจะได้เตรียมถูกนะครับ ดูข้อแนะนำการกรอกใบสมัครทุนได้ที่นี่ http://www.chevening.org/apply/onli...
2. อ่านข้อมูล course syllabus ที่เราสมัครครับ อ่านให้ละเอียดมากๆ เพื่อมาร่าง Personal Statement
ยื่นให้มหาวิทยาลัยได้ตรงเป้า (ผมจะ highlight ไว้ว่าวิชาไหนที่เราอยากเรียนมากและตรงตาม career path
ตอนร่างจะได้เอามา refer ถึงได้ง่ายๆครับ)
3. ค้นคว้าในเน็ตว่าการเขียน Personal Statement ที่ดีมีอะไรบ้าง จดข้อที่ตนเองว่าจะนำมาใช้จริงๆ ไว้
ตอนเขียนจริงๆ จะได้เปิดดูนะครับ และเตรียมหา mentor มาช่วย review ดราฟท์ที่เราเขียน
ผมเองเขียนไม่ต่ำกว่า 10 ดราฟท์ เพราะทุกครั้งที่แก้มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ และอย่าลืมหา second opinion นะครับ
ช่วยกันดูหลายตาดีกว่าแต่สองตาเราครับ
4. อันนี้สำคัญ เช็ค word limit ให้ดีๆ ส่วนมาก Personal Statement จะให้เขียนไม่ยาวเกิน 300-500 คำ
ซึ่งสั้นมากๆ ส่วนตัวคิดว่าการเขียนอะไรให้สั้นแต่ครอบคลุมและโดดเด่น นั้นยากกว่าการเขียนยาวๆ ครับ
5. เริ่มศึกษา Essays 3 ข้อ ที่ Chevening จะให้เขียนลงระบบสมัครออนไลน์ คำถาม 3 ข้อมีดังนี้นะครับ

- ‘Leadership & Influence’ and ‘Networking’ questions
The next two pages will ask you to write about your leadership, influence, and networking qualities.
Remember that we are looking for individuals that will be future leaders and influencers with
strong networking skills. You must answer each question in 500 words or less.


- Next you will be asked to explain why you have selected your three courses and how they relate to
your previous academic or professional experience
, as well as your future career plans.
You should think about:


๐ How will your chosen courses allow you to achieve your career goals?

๐ How has your academic background prepared you for study in the UK?

- Next, you will be asked to write about your future career plans. You must be able to demonstrate
a clear post-study career plan,
so please outline your immediate plans upon returning home,
as well as your longer term career goals. You should also think about:

๐ What steps will you take to achieve your career plan upon returning home?

๐ How will your chosen career plan benefit your home country?


Tips การสมัคร Chevening

สุดท้ายนี้เราขอขอบคุณ คุณ TOMMY S. CHAIYA ในความกรุณาให้เราเผยแพร่ประสบการณ์
ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ ที่กำลังจะสมัครทุน Chevening ในปี 2017 นี้


ที่มา:
รีวิวขั้นตอนและเทคนิคในการสมัครทุน Chevening (ตอนที่ 1)

Tips การสมัคร Chevening
 

Mickey Eduzones ชม 1,643 ครั้ง


TOP RELATED


NEW STORIES