เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 14 : มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon)
  เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์วันนี้กลับมาเสนอเป็นตอนที่ 14 แล้วครับ โดย มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเรากันต่อกับ "เรียนต่ออาเซียน" ซีรีย์ ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้ รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ 

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนในประเทศเพื่อนบ้านของไทยเราอย่าง
ประเทศพม่า ครับ กับมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เราจะไปทำความรู้จักและดูหลักสูตรการเรียนที่น่าสนใจกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon) นั่นเอง !

(ทบทวนความรู้ : รู้จัก "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน" (ASEAN University Network))  
(ทบทวนความรู้ : 
มองการศึกษาและทุนเรียนต่อ AEC : พม่า)


                     


มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศพม่า ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1878 ครับ โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในศาสตร์ด้านศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยมีการหยุดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (เต็มเวลา) ไปหลังจากมีการประท้วงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996  โดยมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากงานวิจัยในสายกฎหมาย วิทยาศาสตร์ และด้านประวัติศาสตร์ และยังเป็นสถานที่สำคัญในการต้อนรับผู้นำโลกหลายคน เช่น อองซานซูจี ฮิลลารี คลินตัน และบารัค โอบามา เป็นต้น 
 
                  เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของประเทศพม่า ในการแรกเริ่มก่อตั้งได้มีการหยิบยืมระบบการจัดการด้านการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ได้แก่ ระบบการศึกษาของ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford) และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) โดยมี ระบบบ้านพัก (Housing) สำหรับเป็นแหล่งรวบรวมและแบ่งปันความรู้ทางวิชาการเฉพาะด้านตามความสนใจของนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในบ้าน ทั้งนี้ยังมีการแบ่งบ้านพักแยกตามเพศหญิงและชายอีกด้วย

หลักสูตรการศึกษา

มหาวิทยาลัยย่างกุ้งเปิดการเรียนการสอน ในภาษาพม่า ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังต่อไปนี้


1. ภาษาพม่า (Burmese)
2.วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
3. ภาษาอังกฤษ (English)
4. ภูมิศาสตร์ (Geography)
5. ประวัติศาสตร์ (History)
6. ปรัชญา (Philosophy)
7. จิตวิทยา (Psychology)
8. กฎหมาย (Law)
9. พฤกษศาสตร์ (Botany)
10. เคมี (Chemistry)
11. คณิตศาสตร์ (Mathematics)
12. ฟิสิกส์ (Physics)
13. สัตววิทยา (Zoology)

บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล :
 University of Yangon
Photo Credits : www.thenational.ae, binaryapi.ap.org, causes-prod.caudn.com

อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 3 : การศึกษาในประเทศบรูไน
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 4 : มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 5 : ซินจ่าว ! การศึกษาเวียดนาม และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University)

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 8 : มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 9 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 10 : มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 11 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 12 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)                                    
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 13 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แห่งกัมพูชา (Royal University of Law and Economics, Cambodia)
                                      กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห


พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
โดย Tony Teerati
วันที่ 5 กรกฎาคม 2556
พิมพ์หน้านี้