ลบ
แก้ไข
ระบบปริญญาโทควบทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ส่อแววไปไม่รอด หลังจากมีคนสิงคโปร์จบแค่ 9 คน นับจากเปิดหลักสูตรมาตั้งแต่ปีค.ศ.2007 โดยมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งประกาศข่าวเศร้าก่อนหน้านี้ว่าโปรแกรมนี้คงจะปิดตัวลงในปี 2014 หลังจากผู้เรียนคอร์สปัจจุบันจบหลักสูตรไปหมดแล้ว
ปัญหา อย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความล้มเหลวของโปรแกรมร่วมระหว่าง New York University (NYU) กับ National University of Singapore (NUS)นั้นคือการที่ภาครัฐของสิงคโปร์ เข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อย เพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายเท่านั้น ทำให้เกิดอุปสรรค์ในการรับนักศึกษาท้องถิ่นเข้ามาเรียนเพิ่ม เพราะขาดเงินสนับสนุนในรูปแบบของการให้ทุนการศึกษา เนื่องจากโปรแกรมป.โท กฎหมายร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสอง ที่ใช้เวลาเรียน 1 ปี ต้องเสียค่าเรียนสูงถึง 50,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) ซึ่งมากกว่า Tuition Fee ของโปรแกรมกฎหมายปกติของNUS ถึงเท่าตัว
Lim Hng Kiangรัฐมนตรีด้านการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า แม้จะดำเนินการเปิดหลักสูตรมาตั้งแต่ปี 2007 และตั้งเป้ารับนักศึกษาเข้ามาในโปรแกรมปีละ ประมาณ 80 คน แต่ยอดรวมของบัณฑิตที่จบออกมามีเพียง 237 คน ซึ่งเกินครึ่งของเป้าหมายที่วางไว้เล็กน้อย ที่สำคัญในจำนวนนี้เป็นผลผลิตบัณฑิตชาวสิงคโปร์เพียงแค่ 9 รายเท่านั้น
จากยอดมหาบัณฑิตกฎหมายในโปรแกรมร่วม NYU กับ NUS มีการสำรวจพบว่า มีเพียง 15% เท่านั้นที่เลือกที่จะอยู่และทำงานในสิงคโปร์หลังจบการศึกษา
แหล่งข่าว :Emilia Tan09 July 2013,University world News
หลักสูตรร่วมสิงคโปร์อเมริกันส่อม้วนเสื่อ
ระบบปริญญาโทควบทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ส่อแววไปไม่รอด หลังจากมีคนสิงคโปร์จบแค่ 9 คน นับจากเปิดหลักสูตรมาตั้งแต่ปีค.ศ.2007 โดยมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งประกาศข่าวเศร้าก่อนหน้านี้ว่าโปรแกรมนี้คงจะปิดตัวลงในปี 2014 หลังจากผู้เรียนคอร์สปัจจุบันจบหลักสูตรไปหมดแล้ว
ปัญหา อย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความล้มเหลวของโปรแกรมร่วมระหว่าง New York University (NYU) กับ National University of Singapore (NUS)นั้นคือการที่ภาครัฐของสิงคโปร์ เข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อย เพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายเท่านั้น ทำให้เกิดอุปสรรค์ในการรับนักศึกษาท้องถิ่นเข้ามาเรียนเพิ่ม เพราะขาดเงินสนับสนุนในรูปแบบของการให้ทุนการศึกษา เนื่องจากโปรแกรมป.โท กฎหมายร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสอง ที่ใช้เวลาเรียน 1 ปี ต้องเสียค่าเรียนสูงถึง 50,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) ซึ่งมากกว่า Tuition Fee ของโปรแกรมกฎหมายปกติของNUS ถึงเท่าตัว
Lim Hng Kiangรัฐมนตรีด้านการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า แม้จะดำเนินการเปิดหลักสูตรมาตั้งแต่ปี 2007 และตั้งเป้ารับนักศึกษาเข้ามาในโปรแกรมปีละ ประมาณ 80 คน แต่ยอดรวมของบัณฑิตที่จบออกมามีเพียง 237 คน ซึ่งเกินครึ่งของเป้าหมายที่วางไว้เล็กน้อย ที่สำคัญในจำนวนนี้เป็นผลผลิตบัณฑิตชาวสิงคโปร์เพียงแค่ 9 รายเท่านั้น
จากยอดมหาบัณฑิตกฎหมายในโปรแกรมร่วม NYU กับ NUS มีการสำรวจพบว่า มีเพียง 15% เท่านั้นที่เลือกที่จะอยู่และทำงานในสิงคโปร์หลังจบการศึกษา
แหล่งข่าว :Emilia Tan09 July 2013,University world News
สมเกียรติ เทียนทอง
ชม 2,264 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES