ลบ
แก้ไข
มาตรฐานดีแต่นักศึกษาน้อย ทำให้หลักสูตรปริญญาโทด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 2มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กับมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก มีอันต้องล่มสลาย หลังเปิดสอนมาได้ 5ปี เพราะจำนวนคนเรียนไม่เป็นไปตามเป้า
A joint degree ซึ่งดำเนินการโดย New York University(NYU)กับNational University of Singapore(NUS) ซึ่งผู้ศึกษาจะได้ Master of laws จากทั้งสองมหาวิทยาลัยหากสำเร็จหลักสูตร 1 ปีแล้ว โดยหลักสูตรนี้ เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ.2007มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียน 39คน ภายใต้เป้าหมายจะทำยอดคนลงทะเบียนเรียน 80คนต่อปี อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มียอดเฉลี่ยอยู่เพียง 40คนเท่านั้น และแม้ว่าจะสามารถดึงดูดนักศึกษาจากกว่า 20ประเทศมาเรียนที่นี่ แต่สถิติคนที่เรียนโปรแกรมนี้ ที่จะจบในปี 2014กลับมีเพียง 21คนเท่านั้น
ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรที่สอนโดยอาจารย์จาก 2มหาวิทยาลัย คือ NYU กับ NUS อยู่ในราว 62,600สิงคโปร์ดอลลาร์ หรือ US$50,000ซึ่งสูงกว่าเกือบ 2เท่าของคอร์สด้านกฎหมายปกติของNUSทีเดียว ซึ่งแม้โปรแกรมร่วมด้านกฎหมายนี้ จะมีการกำหนดว่าจะมีการให้ทุน อย่างน้อย 50ทุน ในห้วง 4ปีการศึกษา รวมถึงยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในเรื่องเงินทุนในการทำธุรกิจ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีผลที่จะทำให้มีคนเข้ามาเรียนมากขึ้นแต่อย่างใด
นักศึกษาบางคนที่เรียนโปรแกรมร่วมด้านกฎหมายที่สิงคโปร์ และเดินทางไปศึกษาอีกภาคหนึ่งที่ New York University กล่าวว่า คอร์สที่เริ่มเดือนพฤษภาคม 2013น่าจะเป็นคอร์สสุดท้ายของโปรแกรมนี้ ทั้งที่เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ เพราะนักศึกษาได้สิทธิจากศาลอุธรณ์ที่นครนิวยอร์กของสหรัฐ ให้บัณฑิตNYU@NUS เข้าฟังการพิจารณาคดีในศาลได้ อีกทั้งยังได้ทุนและการสนับสนุนด้านการเงินอีกด้วย เพราะในยุคหลัง ๆ ค่าใช้จ่ายในการเรียนลักษณะนี้เพิ่มขึ้นมาก
ในขณะที่ปริญญาร่วมระหว่างNUS กับมหาวิทยาลัยจากสหรัฐ มีปัญหาด้านตลาดผู้เรียน แต่การศึกษาในด้านเดียวกัน ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันของสิงคโปร์กับอังกฤษ กลับมีทีท่าว่าจะไปได้ดี โดย The UK’s College of Law ประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้วว่า จะมาตั้งแคมปัสสาขาในสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่สถาบันอุดมศึกษาด้านกฎหมายของสหราชอาณาจักรเปิดอยู่นอกประเทศ และจะเปิดหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี และโท
ในความเป็นจริง สิงคโปร์ถูกมองว่า เป็นฮับด้านการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ในทางปฎิบัติบัณฑิตด้านกฎหมายส่วนใหญ่ มักทำงานกับบริษัทกฎหมายพาณิชย์ของอังกฤษ
แหล่งข่าว: Adele Yung,University World News
Joint DegreeกฎหมายNUS-NYUในสิงคโปร์ล่ม
มาตรฐานดีแต่นักศึกษาน้อย ทำให้หลักสูตรปริญญาโทด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 2มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กับมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก มีอันต้องล่มสลาย หลังเปิดสอนมาได้ 5ปี เพราะจำนวนคนเรียนไม่เป็นไปตามเป้า
A joint degree ซึ่งดำเนินการโดย New York University(NYU)กับNational University of Singapore(NUS) ซึ่งผู้ศึกษาจะได้ Master of laws จากทั้งสองมหาวิทยาลัยหากสำเร็จหลักสูตร 1 ปีแล้ว โดยหลักสูตรนี้ เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ.2007มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียน 39คน ภายใต้เป้าหมายจะทำยอดคนลงทะเบียนเรียน 80คนต่อปี อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มียอดเฉลี่ยอยู่เพียง 40คนเท่านั้น และแม้ว่าจะสามารถดึงดูดนักศึกษาจากกว่า 20ประเทศมาเรียนที่นี่ แต่สถิติคนที่เรียนโปรแกรมนี้ ที่จะจบในปี 2014กลับมีเพียง 21คนเท่านั้น
ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรที่สอนโดยอาจารย์จาก 2มหาวิทยาลัย คือ NYU กับ NUS อยู่ในราว 62,600สิงคโปร์ดอลลาร์ หรือ US$50,000ซึ่งสูงกว่าเกือบ 2เท่าของคอร์สด้านกฎหมายปกติของNUSทีเดียว ซึ่งแม้โปรแกรมร่วมด้านกฎหมายนี้ จะมีการกำหนดว่าจะมีการให้ทุน อย่างน้อย 50ทุน ในห้วง 4ปีการศึกษา รวมถึงยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในเรื่องเงินทุนในการทำธุรกิจ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีผลที่จะทำให้มีคนเข้ามาเรียนมากขึ้นแต่อย่างใด
นักศึกษาบางคนที่เรียนโปรแกรมร่วมด้านกฎหมายที่สิงคโปร์ และเดินทางไปศึกษาอีกภาคหนึ่งที่ New York University กล่าวว่า คอร์สที่เริ่มเดือนพฤษภาคม 2013น่าจะเป็นคอร์สสุดท้ายของโปรแกรมนี้ ทั้งที่เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ เพราะนักศึกษาได้สิทธิจากศาลอุธรณ์ที่นครนิวยอร์กของสหรัฐ ให้บัณฑิตNYU@NUS เข้าฟังการพิจารณาคดีในศาลได้ อีกทั้งยังได้ทุนและการสนับสนุนด้านการเงินอีกด้วย เพราะในยุคหลัง ๆ ค่าใช้จ่ายในการเรียนลักษณะนี้เพิ่มขึ้นมาก
ในขณะที่ปริญญาร่วมระหว่างNUS กับมหาวิทยาลัยจากสหรัฐ มีปัญหาด้านตลาดผู้เรียน แต่การศึกษาในด้านเดียวกัน ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันของสิงคโปร์กับอังกฤษ กลับมีทีท่าว่าจะไปได้ดี โดย The UK’s College of Law ประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้วว่า จะมาตั้งแคมปัสสาขาในสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่สถาบันอุดมศึกษาด้านกฎหมายของสหราชอาณาจักรเปิดอยู่นอกประเทศ และจะเปิดหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี และโท
ในความเป็นจริง สิงคโปร์ถูกมองว่า เป็นฮับด้านการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ในทางปฎิบัติบัณฑิตด้านกฎหมายส่วนใหญ่ มักทำงานกับบริษัทกฎหมายพาณิชย์ของอังกฤษ
แหล่งข่าว: Adele Yung,University World News
สมเกียรติ เทียนทอง
ชม 3,248 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES