ลบ
แก้ไข
หลังจากใช้มัน 2 อย่าง จนเกิดความสับสนว่า สหรัฐอเมริกา ชาติยักษ์ใหญ่แห่งเสรีภาพจะเอาอย่างไรแน่ กับการเรียกชื่อระหว่าง เมียนมาร์ กับ พม่า เพราะดูเหมือนจะเน้นชื่อเดิมพม่ามากกว่า เพราะเห็นว่าชื่อใหม่เปลี่ยนโดยรัฐบาลทหารที่ตนเองเป็นปรปักษ์มานาน
พม่าเปิดประเทศสู่ประชาคมโลก แสดงให้เห็นถึงนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังจากอยู่ภายใต้กฎเหล็กของรัฐบาลทหารมายาวนาน จนทำให้มีความเปลี่ยนแปลงในการร่วมมือกับนานาชาติมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ ด้าน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐ ปฎิเสธที่จะยอมรับชื่อประเทศที่เปลี่ยนแปลงโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่าในปลายปี ค.ศ.1980 ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมียนมาร์ สหรัฐมักจงใจที่จะเรียกชื่อชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากร 60 ล้านคนนี้ว่า“พม่า”เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมรับรัฐบาลทหาร
จนกระทั่ง เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ในการกล่าวปราศัยระหว่างเยือนสหรัฐของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ท่าทีของสหรัฐเริ่มหันมายอมรับในชื่อเมียนมาร์ โดยแหล่งข่าวจากทำเนียบขาวเผยว่า จากนี้ไปสหรัฐยอมรับในชื่อเมียนมาร์ และจะใช้ชื่อนี้เป็นหลักมากกว่าแต่ก่อน
เจย์ คาร์นี่ย์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า“ทางสหรัฐได้ตอบสนองท่าทีของชาติอาเซียนประเทศนี้ ด้วยการขยายความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น มีการลดการแซงค์ชั่นในหลายมาตรการที่เคยมี และเพื่อมารยาทในการใช้บางสิ่งให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เราจึงจะหันมาใช้คำว่า เมียนมาร์ ให้บ่อยยิ่งขึ้น”
(บรรยายภาพ :ประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ของสหรัฐจับมือกับ เต็ง เส่ง ผู้นำเมียนมาร์ ระหว่างเจรจากันในทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์(20พ.ค.)ที่ผ่านมา โอบาม่า(เป็นครั้งแรก)ใช้คำว่าเมียนมาร์ ไม่ใช่พม่าตลอดการสนทนา(ภาพข่าวAFP)
สัมพันธภาพดีขึ้นอเมริกันเรียกเมียนมาร์แทนพม่า
หลังจากใช้มัน 2 อย่าง จนเกิดความสับสนว่า สหรัฐอเมริกา ชาติยักษ์ใหญ่แห่งเสรีภาพจะเอาอย่างไรแน่ กับการเรียกชื่อระหว่าง เมียนมาร์ กับ พม่า เพราะดูเหมือนจะเน้นชื่อเดิมพม่ามากกว่า เพราะเห็นว่าชื่อใหม่เปลี่ยนโดยรัฐบาลทหารที่ตนเองเป็นปรปักษ์มานาน
พม่าเปิดประเทศสู่ประชาคมโลก แสดงให้เห็นถึงนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังจากอยู่ภายใต้กฎเหล็กของรัฐบาลทหารมายาวนาน จนทำให้มีความเปลี่ยนแปลงในการร่วมมือกับนานาชาติมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ ด้าน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐ ปฎิเสธที่จะยอมรับชื่อประเทศที่เปลี่ยนแปลงโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่าในปลายปี ค.ศ.1980 ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมียนมาร์ สหรัฐมักจงใจที่จะเรียกชื่อชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากร 60 ล้านคนนี้ว่า“พม่า”เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมรับรัฐบาลทหาร
จนกระทั่ง เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ในการกล่าวปราศัยระหว่างเยือนสหรัฐของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ท่าทีของสหรัฐเริ่มหันมายอมรับในชื่อเมียนมาร์ โดยแหล่งข่าวจากทำเนียบขาวเผยว่า จากนี้ไปสหรัฐยอมรับในชื่อเมียนมาร์ และจะใช้ชื่อนี้เป็นหลักมากกว่าแต่ก่อน
เจย์ คาร์นี่ย์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า“ทางสหรัฐได้ตอบสนองท่าทีของชาติอาเซียนประเทศนี้ ด้วยการขยายความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น มีการลดการแซงค์ชั่นในหลายมาตรการที่เคยมี และเพื่อมารยาทในการใช้บางสิ่งให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เราจึงจะหันมาใช้คำว่า เมียนมาร์ ให้บ่อยยิ่งขึ้น”
(บรรยายภาพ :ประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ของสหรัฐจับมือกับ เต็ง เส่ง ผู้นำเมียนมาร์ ระหว่างเจรจากันในทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์(20พ.ค.)ที่ผ่านมา โอบาม่า(เป็นครั้งแรก)ใช้คำว่าเมียนมาร์ ไม่ใช่พม่าตลอดการสนทนา(ภาพข่าวAFP)
สมเกียรติ เทียนทอง
ชม 1,641 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES