เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 12 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

บทความโดย : ต้นซุง eduzones
 
สวัสดีทักทายชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์วันนี้นำเสนอเป็นตอนที่ 12 แล้วครับ โดย มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับ "เรียนต่ออาเซียน" ซี รีย์ ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้ รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ 

ในตอนที่ 11 ที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จัก 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) 
ซึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนของประเทศสิงคโปร์กัน วันนี้มีมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอาเซียน มหาวิทยาลัยที่ 3 ซึ่งก็เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นยอดระดับโลกมาแนะนำให้ได้รู้จักกันครับ นั่นคือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) นั่นเอง
 
(ทบทวนความรู้ : รู้จัก "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน" (ASEAN University Network))  
(ทบทวนความรู้ : 
มองการศึกษาและทุนเรียนต่อ AEC : Singapore)

                      
                             วิดีโอประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประจำปี 2013

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ The National University of Singapore มีชื่อย่อว่า NUS หรือในภาษามาเลย์คือ Universiti Kebangsaan Singapura มหาวิทยาลัยชั้นยอดของโลก และความภูมิใจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยมาลายาของมาเลเซียเมื่อครั้งจักรวรรดิอังกฤษได้ยุติบทบาทลงบนผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี ค.ศ. 1962 แต่มหาวิทยาลัยได้สั่งสมคุณภาพของงานวิชาการมาอย่างยาวนานครั้งประเทศสิงคโปร์ยังรวมอยู่ในส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 
 
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายและความเข้มข้นของงานวิจัยสูงมาก วิทยาเขตหลักหรือ  Kent Ridge ของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ วิทยาเขต Bukit Timah ถูกจัดให้มีการเรียนการสอนในคณะนิติศาสตร์ สถาบันวิจัยต่างๆ รวมถึงโรงเรียนการนโยบายสาธารณะ (Lee Kuan Yew School of Public Policy) และวิทยาเขต Outram ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนการแพทย์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อย่าง โรงเรียนแพทย์บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และมหาวิทยาลัยดุ๊กแห่งสหรัฐอเมริกา (Duke-NUS Graduate Medical School) ในการร่วมมือกันด้านงานวิจัยทางการแพทย์ของสองภูมิภาค และนอกจากนี้นายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ แห่งอังกฤษยังจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการวิจัยและให้การแลกเปลี่ยนทางวิชาการร่วมกันระหว่างประเทศ โดยการจัดตั้งมูลนิธิ Tony Blair Faith Foundation ขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยเดอรัมแห่งอังกฤษ และมหาวิทยาลัยเยลแห่งสหรัญอเมริกาอีกด้วย

ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จัดได้ว่าขึ้นชื่อในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับจาก QS World University Rankings ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 25 ของโลก ในปีค.ศ. 2012-2013 และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 2 ของเอเชีย รองจากมหาวิทยาลัยโตเกียวจากประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น นอกจากนี้ในสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย ยังถูกจัดอันดับจากสำนักจัดอันดับเฉพาะทางอื่นๆเช่น สาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะหลักสูตร ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิชาระดับปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความร่วมกับมหาวิทยาลัยเยล อย่าง Yale NUS College อันเป็นการเปิดโอกาสในการเลือกเรียนต่อของนักเรียนต่างชาติในภูมิภาคเอเชียได้เป็นอย่างดี

ด้วยระบบการเรียนที่รับมาจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาทำให้มหาวิทยาลัยมี่ทั้งการสอนแบบกลุ่มเล็กและการสอนแบบสะสมหน่วยกิต  รวมถึงความครบครันของระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมซึ่งมีรถโดยสารรับส่งไว้บริการนักศึกษา ที่พักราคาถูก การบริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และห้องสมุดขนาดใหญ่ถึง 7 ห้องสมุดในสาขาเฉพาะทางต่างๆแล้วนั้น หลักสูตรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเพราะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศในการให้ปริญญาร่วมหลายหลักสูตร


     ไปทัวร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในรูปแบบเสมือนจริงกัน
                                             คลิ๊กเลย !


ระดับปริญญาตรี


1. การรับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม ของทุกปี สามารถศึกษากำหนดการได้ที่นี่

2. ศึกษาวิธีการสมัครเข้า มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้ที่นี่

3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มีให้เลือกมากมายพร้อมทุนการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนต่างชาติ สามารถ ดาวน์โหลดหลักสูตรการศึกษาและคุณสมบัติผู้ศึกษาได้จากแผ่นพับหลักสูตรด้านล่าง

Download


ระดับบัณฑิตศึกษา

1. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา :
 

  Graduate Studies by Research
  Graduate Studies by Coursework

2. การสมัครเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

3. ค่าเล่าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา


ค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนต่างชาติ

ค่าเล่าเรียนของนักเรียนนานาชาติระดับปริญญาตรี ตกอยู่ทีประมาณ 350,000 บาท ต่อปีการศึกษา และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการครองชีพและค่าที่พัก ประมาณ 1 ปี จะอยู่ที่ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี
 
                  เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1

ชีวิตนักศึกษา

 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์มีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับนักศึกษามากมาย ดังนี้
ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์นับว่าเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มีเงินกองทุนเพื่อการศึกษานานาชาติที่มากที่สุดสถาบันหนึ่งในเอเชีย ผู้ที่สนใจทุนการศึกษาสามารถศึกษาทุนการศึกษาได้ ด้านล่างนี้ 

ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี :

1. ทุนการศึกษานักเรียนต่างชาติ ระดับปริญญาตรี โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์



2. ทุนการศึกษานักเรียนต่างชาติ ระดับปริญญาตรี โดยองค์กรภายนอก

 


3. ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาปัจจุบัน ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ 

   ทุนภายในมหาวิทยาลัย :
  1. Awards and Scholarships for Student Exchange programme
  2. Faculty of Arts & Social Sciences
  3. Faculty of Law
  4. NUS Alumni Student Exchange Award (administered by Office of Alumni Relations)
  5. NUS Business School
  6. School of Computing
  7. University Town Scholarshipsnew
  8. Yong Loo Lin School of Medicine
   ทุนภายนอกมหาวิทยาลัย : 
  1. 2013 JAL Scholarship Program
  2. 2013 Vesak 2557 Annual Merit Award
  3. BCA-Industry Built Environment Scholarship Programme
  4. BCA Local Undergraduate Scholarship
  5. BrightSparks Scholarship Portal
  6. CCS Mid-Term Scholarship
  7. CPF Board Mid-Term Undergraduate Scholarship
  8. CSIT Undergraduate Scholarship Award
  9. DSTA ACE Scholarship
  10. HPB Mid-Term Scholarship
  11. IE Singapore Mid-Term Scholarship
  12. IE Singapore's Young Talent Programme
  13. Lim Boon Heng Scholarship AY2013/2014
  14. Lim Kim San Memorial Scholarship
  15. Micron Scholarship
  16. MOE Teaching Award
  17. National Library Board Scholarship Programme
  18. NatSteel Holdings Study Award
  19. Ngee Ann Kongsi Tertiary Scholarships/Bursaries 2013
  20. PSC Mid-Term Scholarship
  21. Raffles Medical Group Scholarship
  22. Sembcorp Scholarship
  23. Singapore Malay Chamber of Commerce and Industry (SMCCI) Scholarship 2013
  24. Singapore Power Scholarship
  25. SLA Scholarship
  26. SNCF Co-Operative Scholarship
  27. SPRING Executive Development Scholarship
  28. STB Mid-Term Scholarship
  29. The Club 21 Scholarship
  30. WDA Scholarship
ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา :

1. NUS Research Scholarships 
2. President's Graduate Fellowship 
3. SMA Graduate Fellowship at SMART 
4. Lee Kong Chian Graduate Scholarship 
5. ASEAN Foundation Research Scholarship (for ASEAN nationals only)
6. A*STAR Graduate Scholarship (for Singaporeans, Singapore PRs and ASEAN nationals) 
7. Kiang Ai Kim Scholarship 
8. NUS Research Studentship 
9. NGS Scholarship 
10. Pfizer Top-Up Scheme / Pfizer-NUS Research Scholarship 
11. Singapore International Graduate Award (SINGA) 
12. NRF (EWT) PhD Scholarships (Managed by EWI) 
13. Top-Up Schemes 
14. Tuition Fee Allowance 


บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล :
 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)

อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 3 : การศึกษาในประเทศบรูไน
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 4 : มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 5 : ซินจ่าว ! การศึกษาเวียดนาม และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University)

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 8 : มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 9 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 10 : มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 11 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) 

                                   กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
โดย Tony Teerati
วันที่ 4 มิถุนายน 2556
พิมพ์หน้านี้