ลบ
แก้ไข
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ วันนี้มีทุนการศึกษาเพื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความประสงค์จะไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศมาฝากกันครับ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 โดยให้เป็นกิจกรรมหนึ่งตามพันธกิจการเป็นสมาชิกโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (University Mobility in Asia and the Pacific :UMAP) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระดับรัฐบาล หรือระดับสถาบันระหว่างมหาวิทยาลัยเจ้าบ้าน (home institutions) และมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ (host institutions)
สกอ.ให้ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั่วโลก ทั้งระดับปริญญาตรี-โท (หมดเขต 31 ต.ค. 56)
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ วันนี้มีทุนการศึกษาเพื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีความประสงค์จะไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศมาฝากกันครับ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 โดยให้เป็นกิจกรรมหนึ่งตามพันธกิจการเป็นสมาชิกโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (University Mobility in Asia and the Pacific :UMAP) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระดับรัฐบาล หรือระดับสถาบันระหว่างมหาวิทยาลัยเจ้าบ้าน (home institutions) และมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ (host institutions)
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีขอบข่ายการแลกเปลี่ยนกว้างกว่าการแลกเปลี่ยนในประเทศสมาชิก UMAP
โดยส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยไปทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษาในทุกประเทศทั่วโลก
ยกเว้น 1.กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และ 2.กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในประเทศดังกล่าวภายใต้โครงการอื่นอยู่แล้ว เนื่องจากเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นสากลในระบบอุดมศึกษาไทยและจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้นำระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตกลางของUMAPหรือ UMAP Credit Transfer Scheme: UCTS มาใช้ในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 โดยกำหนดให้การถ่ายโอนหน่วยกิตตามเกณฑ์ UCTS เป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาสนับสนุนนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการรับรองคุณวุฒิการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับนานาชาติ
ยกเว้น 1.กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และ 2.กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในประเทศดังกล่าวภายใต้โครงการอื่นอยู่แล้ว เนื่องจากเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเป็นสากลในระบบอุดมศึกษาไทยและจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้นำระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตกลางของUMAPหรือ UMAP Credit Transfer Scheme: UCTS มาใช้ในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 โดยกำหนดให้การถ่ายโอนหน่วยกิตตามเกณฑ์ UCTS เป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาสนับสนุนนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการรับรองคุณวุฒิการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับนานาชาติ
1. คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
1.1 เป็นนิสิต/นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษารัฐหรือเอกชนในสังกัดและในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ระดับปริญญาตรี ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร ไม่ต่ำกว่า 2.70 หรือ ระดับปริญญาโท ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร ไม่ต่ำกว่า 3.20
1.2 มีสัญชาติไทย
1.3 ไม่อยู่ในระหว่างรับทุนหรือสมัครรับทุนศึกษา/วิจัย/ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศจากแหล่งอื่น
1.4 ไม่เคยได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศมาก่อน
1.5 มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
1.5.1 ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องมีผลสอบ TOEFL
ไม่ต่ำกว่า 550 ตามระบบ paper-based หรือ 213 ตามระบบ computer-based หรือ 79-80 ตามระบบ internet-basedหรือ ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
หมายเหตุ ผลการทดสอบภาษาอังกฤษอื่น ๆ ไม่สามารถนำมาใช้ในการสมัครเข้าร่วมโครงการได้
1.5.2 ผู้สมัครที่ใช้ภาษาเกาหลี จีน และญี่ปุ่น ในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องมีผลสอบความสามารถในการใช้ภาษานั้น ๆ ดังนี้
- ภาษาเกาหลี ต้องมีผลสอบStandard TOPIK (Test of Proficiency in Korean)ในระดับ Intermediate: เกรด 4 ขึ้นไป
-ภาษาจีน ต้องมีผลสอบ HSK (China's Hanyu Shuiping Kaoshi - Chinese Proficiency Test) ในระดับ 4 ขึ้นไป
- ภาษาญี่ปุ่น ต้องมีผลสอบ JLPT (Japanese-Language Proficiency Test) ในระดับ N1
ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1.5.1 และ 1.5.2 ในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ภาษารัสเซีย เป็นต้น ต้องมีหนังสือรับรองความสามารถในการใช้ภาษานั้น ๆ ในเกณฑ์ดีจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด ทั้งนี้ การพิจารณาให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ
1.6 ใช้ระบบ UCTS ในการเทียบโอนหน่วยกิต โดยเป็นข้อตกลงระหว่าง Home Institution และ Host Institution ซึ่งบันทึกใน UMAP standard application form and study plan using UCTS
1.7 สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดภาคการศึกษา
1.8 สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการเข้าร่วมโครงการ เช่น ค่าเดินทางภายในประเทศ และภายในต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมวีซ่า และค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
1.9 สามารถจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการ
· รายงานสรุปผลการเข้าร่วมโครงการ
· สำเนา UMAP standard application form and study plan using UCTSซึ่งบันทึกรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียน จำนวนหน่วยกิต (credits) ที่เทียบโอนโดยสถาบันต้นสังกัด โดยใช้ระบบ UCTS
· สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript)จากมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ
· สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript) ของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่แสดงรายวิชา จำนวนหน่วยกิต (credits) และค่าระดับคะแนน (grade)ที่รับโอนมาจากสถาบันต่างประเทศ
· เงินเหลือจ่ายจากค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน (ถ้ามี) ส่วนหลักฐานการเบิกจ่ายให้จัดเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัย
อนึ่ง การกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้นี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของมหาวิทยาลัย แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับคุณสมบัติต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นี้
2. ประเภทของกิจกรรม
นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศในรายวิชาที่สัมพันธ์กับวิชาเอกหรือวิชาโท จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และสามารถโอนหน่วยกิตกลับไปยังมหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้
3. ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
การเข้าร่วมโครงการมีระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะให้การสนับสนุนไม่เกิน 4 เดือน นักศึกษาต้องเข้าร่วมโครงการภายในเดือนกันยายน 2557 และไม่ให้มีการขยายหรือ
ลดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการจากที่ได้รับอนุมัติ
4. ค่าใช้จ่ายที่จะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4.1 ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัดของสายการบินไทย ออกโดยบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยไปยังสนามบินปลายทางต่างประเทศ (ไม่รวมค่าบัตรโดยสารเครื่องบินภายในประเทศไทย) หากบัตรโดยสารเครื่องบินออกโดยบริษัทสายการบินอื่น ราคาที่จ่ายจริงต้องไม่เกินอัตราตั๋วราชการชั้นประหยัดที่กำหนดไว้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0408.2/ว 112 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2546
4.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักในต่างประเทศ จำนวน 1 ภาคการศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะให้การสนับสนุนไม่เกิน 4 เดือน ในอัตราเหมาจ่ายรายเดือน ตามอัตราค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง ดังนี้
ประเทศ |
อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักเหมาจ่าย (ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน) |
---|---|
กลุ่ม 1 -ญี่ปุ่น -ฮ่องกง |
1,600 |
กลุ่ม 2 -เครือรัฐออสเตรเลีย -นิวซีแลนด์ -ราชอาณาจักรนอร์เวย์ -แคนาดา -สหรัฐอเมริกา -สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล -สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) -ไต้หวัน -สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย -สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ -สาธารณรัฐชิลี -ราชอาณาจักรโมร็อกโก -ราชรัฐโมนาโก -มอริเชียส -สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ -สหพันธรัฐรัสเซีย |
1,100 |
กลุ่ม 3 -ประเทศ รัฐ เมือง ที่นอกเหนือจากกลุ่ม 1กลุ่ม 2 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป |
800 |
4.3 ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 และ 4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องรับผิดชอบเอง
4.4 ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ครบตามระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้ และต้องคืนงบประมาณสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
5. การสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านมหาวิทยาลัยต้นสังกัดจำนวน 2 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด) ในแต่ละชุดประกอบด้วย
5.1 ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
5.2 สำเนา UMAP standard application form and study plan using UCTS ที่มีข้อมูลครบถ้วน ดังนี้
5.2.1 ระบุข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา
5.2.2 ระบุชื่อรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่จะลงทะเบียนเรียน ณ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตโดยที่รายวิชานั้น ๆ จะต้องสัมพันธ์กับวิชาเอกหรือโทของหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ และเป็นวิชาที่เปิดสอนอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือโทของสถาบันอุดม- ศึกษาหรือสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถาบันภาษาหรือสถาบันวิจัยเอกชน
5.2.3 ระบุชื่อรายวิชาของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดที่เทียบเคียงกับรายวิชาที่จะลงทะเบียนเรียน
ณ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ และจำนวนหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้
5.2.4 ในตอนท้ายของสำเนา UMAP standard application form and study plan using UCTSจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
-ลายมือชื่อของนักศึกษา
-ลายมือชื่อของอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด
-ลายมือชื่อของอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพ
5.3 หนังสือตอบรับให้เข้าศึกษา ณ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยระบุระยะเวลาที่จะเข้าเรียนอย่างชัดเจนว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด
5.4 สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนวันสมัคร
5.5 สำเนาผลการทดสอบภาษาตามที่ระบุไว้ในข้อ 1.5
6. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
6.1 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยคณะกรรมการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สมัครตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 พร้อมทั้งรายละเอียดกิจกรรม และความสมบูรณ์ของหลักฐานการสมัครของผู้สมัคร
ทั้งนี้ จำนวนผู้สมัครที่จะได้รับทุนขึ้นอยู่กับงบประมาณของโครงการที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี และการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครในขั้นตอนสุดท้ายให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ
6.2 ผู้สมัครที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ
6.3 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่ออย่างเป็นทางการจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดเท่านั้น
7. การเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
7.1 มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครได้ไม่เกินแห่งละ 2 คน โดยขอให้มหาวิทยาลัยจัดลำดับนักศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อด้วย
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาผู้สมัครเรียงตามลำดับ 2 คนแรกที่ปรากฏในหนังสือเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น
7.2 มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตราไปรษณีย์ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 (ไม่รับเอกสารการสมัครทางโทรสารหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยเสนอชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหลังจากวันที่กำหนดไว้นี้จะไม่ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกให้ร่วมโครงการ
Tony Teerati
ชม 11,827 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES