เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 8 : มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 8

บทความโดย : ต้นซุง eduzones
 
สวัสดีทักทายชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์มาถึงตอนที่ 8 แล้วนะครับ โดยวันนี้ มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับซีรีย์ "เรียนต่ออาเซียน" ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ 

ในตอนที่ 7 ที่ผ่านมาเราได้ทำความรู้จัก มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya) หนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน ที่มีดีกรีระดับนานาชาติกันไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียมาแนะนำให้รู้จักกันครับ เพราะเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญทางสาขาด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศทีเดียว ได้แก่ 
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia) นั่นเอง
 
(ทบทวนความรู้ : รู้จัก "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน" (ASEAN University Network)

               

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย Universiti Sains Malaysia หรือ University of Science, Malaysia เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1969 ปัจจุบันในปีค.ศ. 2013 มีอายุกว่า 44 ปีมาแล้ว มหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตหลักจะอยู่ที่ปีนัง ที่ เคลันตัน (Kelantan) จะใช้สอนสาขาวิชาทางด้านสุขภาพ และ วิทยาเขตนิบงเทไบของปีนัง (Nibong Tebal) จะสอนสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ 
 
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในอินเดียในสาขาวิชาทางแพทยศาสตร์ ปัจจุบันในปีค.ศ. 2013 มหาวิทยาลัยมีนักศึกษากว่า 30,000 คน โดยมีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของประเทศ ครั้งแรกเริ่มก่อตั้งนั้น มหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า "Universiti Pulau Pinang" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการสอนทางด้าน วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมงานวิจัยที่ดีในสาขาวิชาทางด้านศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เปิดเพิ่มเติมอีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาใน 4 คณะใหญ่ด้วยกัน ได้แก่

1. โรงเรียนเทคโนโลยี 
ซึ่งมีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง ได้แก่  วิศวกรรมอวกาศยาน วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเคมี
2. โรงเรียนศิลปศาสตร์ ซึ่งมีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ นิเทศศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ สังคมศาสตร์ และบริหารธุรกิจ 
3. โรงเรียนวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งมีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และฟิสิกส์ 
4. โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เภสัชศาสตร์ 

นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัยที่มีชื่อเสียง เช่น ศูนย์วิจัยสมอง วิทยาศาสตร์สุขภาพ เภสัชศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและ
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (Admissions)

- หลักสูตรระดับปริญญาตรีจะเปิดรับสมัครช่วงเดือน มกราคม ของทุกปี และปิดรับสมัครในช่วง เมษายน ของทุกปี 
- คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะสมัครเข้าเรียนต่อหลักสูตรปริญญาตรี ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 12 ปี รายละเอียดที่นี่

 
1. ส่งใบสมัครออนไลน์ ที่นี่
2. เตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องส่ง ที่นี่ 
3. มีผลสอบ 
TOEFL score of 500 หรือ IELTS Band 5.5


ดาวน์โหลดคู่มือการสมัครเข้าเรียนรวมถึงรายละเอียดที่พักและบริการทางสุขภาพของมหาวิทยาลัย ที่นี่

ดาวน์โหลดหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี ที่นี่ 

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > หลักสูตรนานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี

ระดับบัณฑิตศึกษา

- หลักสูตร ค่าเล่าเรียน ที่พักอาศัย ของนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย  รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ 

คู่มือสมัครระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย ที่นี่


ค่าเล่าเรียน
 
ค่าครองชีพในการเรียนที่ประเทศมาเลเซียถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในฝั่งตะวันตกครับ ปีหนึ่งจะใช้จ่ายรวมทุกอย่างอยู่ที่ประมาณ 200,000-300,000 บาท ก็สามารถอยู่ได้สบายครับ รายละเอียดค่าเล่าเรียนที่นี่
 
ค่าเล่าเรียนระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ)
-สาขาด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ตลอดหลักสูตร 3 ปีครึ่ง-4 ปี ประมาณ 350,000-400,000 บาท
-สาขาด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดหลักสูตร ประมาณ 500,000-700,000 บาท
 
ค่าเล่าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา
 
- ปีละประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป 
 
ค่าที่พักอาศัย
 
-ค่าหอพักของมหาวิทยาลัย อยู่ที่ 3,000-9,000 บาท ต่อเดือน รายละเอียดที่พักอาศัยที่นี่
 
ค่าเดินทาง
 
-เฉลี่ยอยู่ที่ 600 บาทต่อเทอม
 
ทุนการศึกษา 
 
รัฐบาลมาเลียเซียมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ ด้วยความที่ต้องการให้ประเทศเป็นฮับทางการศึกษาในอาเซียนครับ ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่นักเรียนไทยสามารถสมัครได้มี 2 ทุนใหญ่ๆ ได้แก่
 
1. Malaysia International scholarship (MIS)
-รัฐบาลมาเลเซียพยายามที่จะดึงดูดนักเรียนที่มีความชาญฉลาดและดีที่สุดจากทั่วโลก ให้มาเรียนต่อในประเทศมาเลเซีย และทุนการศึกษา Malaysia International scholarship (MIS)  นี้ ก็ค้นหานักเรียนที่มีความสามารถที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีประสบการณ์อัน น่าประทับใจ  นักเรียนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีในการสมัครและ สามารถเลือกเรียนสาขาใดก็ได้ที่ต้องการ ทั้งในสถาบันเอกชนและรัฐบาล สามารถเข้าไปเว็บไซต์ mohe.gov เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ปิดรับสมัครวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
 
2. Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals
-ทุน Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals  นี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของความรู้ในเอเชีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภูมิภาคเอเชียแปซิ ฟิค และเพื่อสร้างการเติบโตของความเป็นเอเชีย ทุน API ปิดรับสมัคร 31 สิงหาคม ของทุกปี

3. ทุน USM Global Fellowship สำหรับนักศึกษาทุกเชื้อชาติเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา
- ทุน USM Global Fellowship เป็นทุนเฉพาะของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียเพื่อให้กับนักศึกษาต่างชาติ เรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาครับ โดยผู้ที่จะรับทุนระดับปริญญาโท ต้องมีคะแนน GPA ระดับปริญญาตรี 3.67 ขึ้น และผู้ที่ขอทุนระดับปริญญาเอกต้องได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีและปริญญาโท 3.50 ขึ้น
รายละเอียดที่นี่


มาเลเซียไม่เพียงแค่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น  แต่ยังกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักเรียนจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ชาว Interscholarship หวังว่ามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียจะเป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่น่าสนใจในการเรียนต่อไม่น้อยสำหรับนักเรียนไทยนะครับ ตอนหน้ายังคงอยู่ที่ประเทศมาเลเซียกันครับ กับมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนของมาเลเซีย ติดตามได้เลย
 
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
 
ขอบคุณข้อมูล : Universiti Sains Malaysia

อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง
 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 3 : การศึกษาในประเทศบรูไน
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 4 : มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 5 : ซินจ่าว ! การศึกษาเวียดนาม และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University)
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) 
เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya)

                                     กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห

พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
โดย Tony Teerati
วันที่ 16 พฤษภาคม 2556
พิมพ์หน้านี้