ลบ แก้ไข

"ศรีลังกา" โอกาสใหม่ในการศึกษาต่อของนักเรียนต่างชาติ

 
ศรีลังกา" โอกาสใหม่ในการ

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้พามาอัพเดทข่าวการศึกษาที่สำคัญของประเทศศรีลังกา ที่ได้มีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติให้เข้ามาเรียนในประเทศศรีลังกาให้มากขึ้น โดยการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนต่างชาติโดยเฉพาะนักเรียนจากในเอเชียให้มากขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลหวังว่าประเทศศรีลังกาจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นฮับทางด้านการศึกษาที่สำคัญของทวีปครับ

เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 ที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศศรีลังกามีนโยบายในการเพิ่มโควต้าทุนการศึกษาให้สำหรับนักเรียนต่างชาติจากที่เคยให้ทุนเพียง 0.5 % เป็น 5 % โดยกระทรวงศึกษาธิการศรีลังกาเผยว่าจะมีการสนับสนุนในเรื่องค่าเล่าเรียนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 3 ปี ประมาณ 1,000-4,000 คน แม้ว่าส่วนใหญ่ของนักเรียนต่างชาติจะมาจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆในเอเชียใต้

ล่าสุด Nandimithra Ekanayake ผู้ทำการแทนรัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาของศรีลังกา เผยว่าจะมีการทำงานเพื่อส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ และหวังว่าจะมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีของประเทศจีนให้ความสนใจศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นในประเทศศรีลังกาในช่วงปลายปีนี้

Dr Sunil Jayantha Navaratne เลขานุการของรัฐมนตรีอุดมศึกษายังกล่าวเสริมว่า "รัฐบาลศรีลังกามีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มจำนวนนักเรียนต่างชาติในประเทศให้สูงขึ้นประมาณ 3,000 คน ในปีค.ศ.2013 และมีการคาดการณ์ให้มีเป้าถึง 10,000 คน ในปีค.ศ.2015 อีกทั้งยังมีแรงจูงใจสำหรับนักเรียนโดยสามารถขอวีซ่าเข้าประเทศโดยวิธีการทางออนไลน์และไม่มีค่าใช้จ่าย"

ศรีลังกายังมีนโยบายในการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนต่างชาติ 100-150 ทุนต่อปี โดยจะมีการเพิ่มทุนการศึกษาให้กับนักเรียนต่างชาติในอีก 10 ประเทศ รวมถึงนักเรียนจากทวีปแอฟริกาที่จะมีสิทธิ์ขอทุนการศึกษาในปีนี้ แต่สหภาพนักศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัยและพรรคการเมืองในศรีลังกา ยังคงมีความเห็นที่ตรงกันข้ามกับการขยายจำนวนนักศึกษาภายในประเทศอันเนื่องมาจากจำนวนที่นั่งของนักเรียนมหาวิทยาลัยที่จำกัดเพียง 25,000 คน ทั้งๆที่มีนักเรียนศรีลังกาสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยถึง 50,000 คน

ตัวแทนของสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือ "University Students Federation" ได้ให้ความเห็นว่า "การกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้จะปิดกั้นโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนในท้องถิ่น" 

นักวิชาการของศรีลังกายังมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว อีกทั้งโรงเรียนแพทย์หลายแห่งยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการกระทำที่ขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในการพัฒนามหาวิทยาลัย และมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศปฏิเสธนักเรียนทุน เช่น  Rajarata University และ Peradeniya University และมีการประท้วงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่

แม้จะมีการประท้วง เมื่อเร็วๆนี้รัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาก็ได้อนุมัติข้อตกลงในโครงการทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ เพื่อเป็นแผนการในการเปิดประเทศ ให้มีการยอมรับด้านการศึกษาของประเทศศรีลังกาที่สูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลมีนโยบายในการให้ทุนการศึกษากับนักเรียนจาก 48 ประเทศ และได้ขยายเป็น 58 ประเทศในปีนี้ โดยมีประเทศในลิสต์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ Burkina Faso, Estonia, Ethiopia, Iceland, Latvia, Lithuania, Oman, Seychelles, Swaziland และ Uganda โดยนักเรียนจะได้รับทุนเต็มจำนวน (full scholarship) เพื่อเข้ามาศึกษาด้านแพทยศาสตร์ บริหารธุรกิจ กฎหมาย วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยได้รับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศ และค่าวีซ่า

แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการต่อต้านการอนุญาตให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศในการเข้ามาเปิดวิทยาเขตในประทเศศรีลังกา ซึ่งล่าสุดรัฐบาลศรีลังกาได้มีการจัดตั้ง Board of Investment (BoI) projects ซึ่งเป็นโครงการใน "กระทรวงส่งเสริมการลงทุน" (Ministry of Investment Promotion) อันเป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการเสนอเรื่องของการงดเว้นภาษี ซึ่งมีสถาบันการศึกษาร่วมทุนแล้ว เช่น Raffles Education Corporation of Singapore จากประเทศสิงคโปร์ และ University of Central Lancashire จากสหราชอาณาจักร ที่มีการลงนามจัดตั้งวิทยาเขตในประเทศศรีลังกาแล้ว และสำหรับสถาบันการศึกษานานาชาติของเอกชนจากประเทศอื่นๆ เช่น Victoria Higher Education ซึ่งเป็นของ EDNET กลุ่มองค์กรการศึกษาในดูไบ ในเครือ Edulink group ก็จะเปิดการเรียนการสอนซึ่งนักเรียนจะได้ปริญญาจาก University of Greenwich ของสหราชอาณาจักรอีกด้วย

ปัจจุบันมีนักเรียนศรีลังกาไปศึกษาต่อในต่างประเทศจำนวน 12,000 คน เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การเปิดมหาวิทยาลัยต่างชาติในประเทศจะช่วยให้มีการกระจายทางเศรษฐกิจที่ดี จากการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นักลงทุนคนไทยคนไหนสนใจเข้าไปลงทุนและนักเรียนไทยที่สนใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศศรีลังกาควรศึกษาไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจและพัฒนาช่องทางใหม่ๆเพื่อโอกาสในการศึกษาต่อที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

ติดตามทุนการศึกษารัฐบาลศรีลังกาสำหรับนักเรียนต่างชาติได้ที่นี่ 

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > โบว์ชัวร์ทุนรัฐบาลศรีลังกา

แปล/เรียบเรียง : ต้นซุง eduzones
More foreign students, scholarships in pursuit of hub status 

ขอบคุณข้อมูล : กระทรวงอุดมศึกษา ประเทศศรีลังกา



                                 กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
 

Tony Teerati ชม 1,678 ครั้ง


TOP RELATED


NEW STORIES


Comment