ลบ แก้ไข

ฮ่องกงวิกฤต 8 มหาวิทยาลัย "ขึ้นค่าเรียนนักเรียนต่างชาติ"

 
ฮ่องกงวิกฤต 8 มหาวิทยาลั

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ พบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งนะครับ ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2013 ที่ผ่านมา 8 มหาวิทยาลัยรัฐของฮ่องกงได้เพิ่มค่าเล่าเรียนของนักศึกษาต่างชาติขึ้นกว่า 20 % ในปีนี้ โดยมีผลจากภาวะเงินเฟ้อและค่าเงินหยวนที่แข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบกับนักเรียนพลัดถิ่นกว่า 10,000 คน

เหตุการณ์ดังกล่าวของภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย สถาบันด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รวมถึงมหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่ของประเทศจีน เพิ่มค่าใช้จ่ายในหลักสูตรระดับปริญญาตรีสำหรับนักเรียนต่างชาติ โดยมีอัตราอยู่ที่ 390,000 - 465,000 บาทต่อปีทีเดียว

Chouk Yin ผู้ประสานงานมหาวิทยาลัยจีนแผ่นดินใหญ่และมหาวิทยาลัยภายนอกกล่าวว่า "ค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อ และการแข็งค่าของเงินหยวน การปรับตัวในครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นใจในมหาวิทยาลัยของเรา"

The University of Hong Kong มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลก เรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักศึกษาปริญญาตรีต่างชาติอยู่ที่ HK$135,000 (ประมาณ 513,000 บาท) ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ HK$16,000 เลยทีเดียว ส่วน Polytechnic University, Lingnan University และ Baptist University จะจัดเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้นเป็น HK$110,000 (ประมาณ 470,000 บาท) จากราคาเดิมที่ HK$100,000 (ประมาณ 370,000 บาท) และ The Hong Kong Institute of Education ที่เรียกเก็บค่าเล่าเรียน HK$100,000 (ประมาณ 370,000 บาท) จะมีราคาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 17.6 %

สำหรับค่าเล่าเรียนครั้งล่าสุดที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นคือในช่วงปีค.ศ. 2010 นักเรียนจากประเทศจีนเองจะยังคงใช้ราคาเดิมไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด ส่วนนักเรียนที่ได้รับผลกระทบที่สุดอันได้แก่นักเรียนต่างชาติจาก 8 มหาวิทยาลัยในฮ่องกงกว่าหมื่นคน เป็นนักเรียนระดับปริญญาตรีถึง 6,000 คน และมีนักเรียนจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้รับผลกระทบถึงร้อยละ 77 จากการรายงานของที่ปรึกษาคณะกรรมการทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยในฮ่องกง University Grants Committee (UGC)

แม้จะมีผลกระทบเรื่องค่าเล่าเรียนที่เพิ่มขึ้นนั้น Melanie Wan ผู้จัดการด้านการสื่อสารของ the University of Hong Kong ยังมีความเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยยังคงได้รับความสนใจที่ดีจากนักเรียนจากจีนแผ่นดินใหญ่ เธอบอกว่าเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่มหาวิทยาลัยเป็นที่ดึงดูดนักเรียนหัวกะทิจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาเรียนภายในวิทยาเขต "มหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความโดดเด่นทางวิชาการ โดยให้เหตุผลว่ามหาวิทยาลัยจะไม่กีดกันการศึกษาให้กับนักเรียนชั้นเลิศที่มีความวิตกด้านการเงิน"

ปีที่แล้วมีมหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษานักเรียนปริญญาตรีจากจีนแผ่นดินใหญ่ถึง 360 คน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่า ปีก่อนเกือบ 60 คน การเพิ่มขึ้นสาเหตุประการหนึ่งมาจากการเพิ่มช่วงระยะเวลาการเรียนภายในมหาวิทยาลัยจากหลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี เป็น 4 ปี การให้ทุนการศึกษาจึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่จะทำให้นักศึกษามาเรียนกับเรา แต่ในขณะเดียวกันปีนี้ทางมหาวิทยาลัยจะกลับมาให้ทุนเพียง 300 ทุนเหมือนทุกปี

Duan Bing ที่ปรึกษาของศูนย์การศึกษานานาชาติ Dongfang International Centre for Educational Exchange กว่าวว่า "การศึกษาสไตล์ตะวันตก อันดับมหาวิทยาลัยโลกที่สูง และทุนการศึกษาจำนวนมากจะเป็นสิ่งดึงดูดนักเรียนให้เข้ามาเรียนในฮ่องกงได้เป็นอย่างดี"

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าการเพิ่มค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยฮ่องกงนี้จะส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่ตั้งใจจะเข้ามาเรียนในฮ่องกง การที่ฮ่องกงจะสามารถลดผลกระทบนี้ได้คือการให้ทุนการศึกษา แต่ก็ยังมีผู้ปกครองหลายคนจากจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงเต็มใจที่จะจ่ายหากลูกของเขาไม่ได้รับทุนดังกล่าวเพราะว่ามหาวิทยาลัยในฮ่องกงยังถูกจัดอันดับโลกและมีคุณภาพเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยในตะวันตก 

ทุนการศึกษาที่มากขึ้น

8 มหาวิทยาลัยในฮ่องกงมีนโยบายที่จะเพิ่มทุนการศึกษาไว้รองรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทุนการศึกษาเหล่านี้ครอบคลุมถึงค่าที่พักอาศัยและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างพออยู่พอใช้ แม้ภายหลังจากเพิ่มค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยทั้งสองของฮ่องกงอย่าง City University และ the University of Hong Kong ยังคงมีรายจ่ายไม่เพียงพอต่อการฝึกอบรมนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในท้องถิ่น 

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการศึกษาที่รัฐบาลฮ่องกงให้เงินทุนสนับสนุนในระดับปริญญาตรีอยู่ที่ HK$233,000 (US$30,000) หรือประมาณ 900,000 บาทต่อปีจากปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยทุนรัฐบาลฮ่องกงรองรับนักเรียนต่างชาติได้ร้องละ 20 ซึ่งมีร้อยละ 4 ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและต้องออกโดยทุนของตัวเอง

วัตถุประสงค์ของการรับนักเรียนต่างชาติของฮ่องกงคือความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ รวมถึงการส่งเสริมด้านการสื่อสารระหว่างนักเรียนฮ่องกงและนักเรียนต่างถิ่นที่มาจากวัฒนธรรมอื่น

นอกจากนี้ Chung Yue-ping นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยจีน กล่าวว่า "นักเรียนจากแผ่นดินใหญ่สามารถทำงานหนักได้ และขวนขวายหาโอกาสในการศึกษาต่อ" ซึ่งสะท้อนทัศนคติที่นักเรียนท้องถิ่นฮ่องกงเองควรเอาเยี่ยงอย่าง

แปล/เรียบเรียง : ต้นซุง eduzones


                                       กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห

พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
 

Tony Teerati ชม 2,674 ครั้ง


TOP RELATED


NEW STORIES


Comment