ลบ
แก้ไข
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ กลับมาพบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งกับช่วงเวลาสำคัญของข่าวการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมาครับ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผลงานมากมายของหญิงเหล็กแห่งอังกฤษผู้นี้ ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปวงการการศึกษาอังกฤษ โดยเฉพาะการดำรงตำแหน่งที่สำคัญอย่าง เลขาธิการการศึกษาสหราชอาณาจักร (Education Secretary) ซึ่งมีผลกระทบที่หลากหลายในการปฏิรูปการศึกษาของสหราชอาณาจักรครับ
ชีวิตในวัยศึกษาเล่าเรียนของแทตเชอร์นั้น เธอเข้าเรียนในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม หลังจากเรียนจบเธอได้ยื่นทุนเรียนดีเข้าเรียนด้านเคมี โดยเลือกลงเรียนวิชาเอก "ผลิกศาสตร์" (Crystallography) (ชาว Interscholarship ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะผลิก กับ ผลึก เป็นคำที่ให้แทนกันได้) ที่ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxford University) นอกจากนี้ความโดดเด่นในการศึกษาและความเป็นผู้นำสมัยเรียนเธอยังได้รับตำแหน่งประธานสมาคมอนุรักษนิยมแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และเธอจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมและเข้าทำงานเป็นนักเคมี ให้กับบริษัท British Xylonite และ บริษัท J. Lyons and Co. โดยได้พัฒนาวิธีการในการเก็บรักษาไอศกรีม เธอยังอยู่ในทีมที่พัฒนาไอศกรีมแบบอ่อนนุ่มเป็นรายแรกๆ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะมาทำงานด้านการเมืองอีกด้วย
- แจกนมโรงเรียนฟรี สำหรับนักเรียนอายุ 7 - 11 ปี
- จัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานทางการศึกษา (Office for Standards in Education (Ofsted))
- วางแผนอำนาจการบริหารการศึกษาท้องถิ่นให้สามารถบริหารงานได้ด้วยงบประมาณของตนเอง
- ถอดถอนแผนการให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียนแม้จะได้รับเสียงคัดค้านเป็นส่วนใหญ่จากนักเรียนและชนชั้นกลาง
- สั่งปิดโรงเรียนมัธยมที่ไม่ได้มาตรฐานหลายแห่งในประเทศ อนุมัติข้อเสนอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแค่ 326 โรงเรียน จากที่มีข้อเสนอถึง 3,612 โรงเรียน ในสมัยที่เธอดำรงตำแหน่งเลขาธิการการศึกษา
นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของ มาร์กาเรต แทตเชอร์
- แนะนำให้มหาวิทยาลัยเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (ซึ่งก่อนหน้าปีค.ศ.1981 นักเรียนต่างชาติได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน)
- การสร้างระบบการตลาดขึ้นของระบบมหาวิทยาลัยอังกฤษ อันเป็นจุดเริ่มต้นของเงินทุนขนาดใหญ่และจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร
- ตัดเงินสนับสนุนการวิจัยของรัฐบาลที่มีให้มหาวิทยาลัย
- มรดกที่ยั่งยืนของมาร์กาเรต แทตเชอร์ที่ส่งผ่านสู่ โทนี่ แบล และเดวิด คาเมรอน ได้แก่ เรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กของสหราชอาณาจักรคนนี้ อย่างน้อยเธอก็มีความโดดเด่นในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภาคเอกชน แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติอย่างเราๆที่สนใจเรียนต่ออังกฤษ คงเป็นนโยบายร้ายๆที่อยากให้เปลี่ยนแปลงครับ
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูลประกอบ และอ่าน นโยบายการศึกษาของมาร์กาเรต แทตเชอร์ เพิ่มเติมได้ที่ :
1.The Cambridge Biograhical Encyclopedia / Edited by David Cystal-2nd ed., Cambridge University Press, 2000
2. Learning Crystallography และ Crystal Lattice Structures
3. The Irish education of Margaret Thatcher
4. Margaret Thatcher's legacy: Spilt milk, New Labour, and the Big Bang - she changed everything
5. How Margaret Thatcher transformed our universities
6. Reitan, Earl Aaron (2003). The Thatcher Revolution: Margaret Thatcher, John Major, Tony Blair, and the Transformation of Modern Britain, 1979–2001. Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-2203-2.
7. Wapshott, Nicholas (2007). Ronald Reagan and Margaret Thatcher: A Political Marriage. Sentinel. ISBN 1-59523-047-5.
Photo Credits:
1. www.theepochtimes.com
2. businessinsider.com
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) นายกฯหญิงเหล็ก แห่งวงการ "การศึกษา" อังกฤษ
สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ กลับมาพบกับ มองการศึกษาโลก อีกครั้งหนึ่งกับช่วงเวลาสำคัญของข่าวการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมาครับ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผลงานมากมายของหญิงเหล็กแห่งอังกฤษผู้นี้ ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปวงการการศึกษาอังกฤษ โดยเฉพาะการดำรงตำแหน่งที่สำคัญอย่าง เลขาธิการการศึกษาสหราชอาณาจักร (Education Secretary) ซึ่งมีผลกระทบที่หลากหลายในการปฏิรูปการศึกษาของสหราชอาณาจักรครับ
ชีวิตในวัยศึกษาเล่าเรียนของแทตเชอร์นั้น เธอเข้าเรียนในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม หลังจากเรียนจบเธอได้ยื่นทุนเรียนดีเข้าเรียนด้านเคมี โดยเลือกลงเรียนวิชาเอก "ผลิกศาสตร์" (Crystallography) (ชาว Interscholarship ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะผลิก กับ ผลึก เป็นคำที่ให้แทนกันได้) ที่ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxford University) นอกจากนี้ความโดดเด่นในการศึกษาและความเป็นผู้นำสมัยเรียนเธอยังได้รับตำแหน่งประธานสมาคมอนุรักษนิยมแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และเธอจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมและเข้าทำงานเป็นนักเคมี ให้กับบริษัท British Xylonite และ บริษัท J. Lyons and Co. โดยได้พัฒนาวิธีการในการเก็บรักษาไอศกรีม เธอยังอยู่ในทีมที่พัฒนาไอศกรีมแบบอ่อนนุ่มเป็นรายแรกๆ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะมาทำงานด้านการเมืองอีกด้วย
แทตเชอร์เข้าสู่วงการการเมืองโดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 โดยร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงาเมื่อ พ.ศ. 2510 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการการศึกษาสหราชอาณาจักร (Education Secretary) และใน พ.ศ. 2520 เธอได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม แทนนายเอดเวิร์ด ฮีท โดยเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษครับ
ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษนิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัด อันทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่รัฐบาลก่อนๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ
เธอได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2526 โดยได้เสียงข้างมากทั้ง ๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี มีสงครามฟอล์กแลนด์และความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้น และได้รับเลืกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี พ.ศ. 2530 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2531 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 อีกทั้งแนวความคิดในการบริหารประเทศและการทำงานของเธอยังได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิแทตเชอร์” (Thatcherism) ด้วยเหตุผลที่เธอเป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ทั้งหลายครับ
แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพศจิกายน ในปี พ.ศ. 2533 จากการที่เธอไม่ยอมให้สหราชอาณาจักรเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EU) และจากความขัดแย้งภายในพรรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ครับ
สำหรับนโยบายการศึกษาที่สำคัญของนายกหญิงเหล็กคนนี้นั้น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของหลายสิ่งที่ส่งผลกระทบของเรานักเรียนต่างชาติที่สนใจศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญในหลายเรื่องอันเป็นนโยบายที่ไม่ถูกใจชาวต่างชาติอย่างเราๆสักเท่าไหร่ เรามาดูนโยบายการศึกษาของ มาร์กาเรต แทตเชอร์กันครับ
นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษาในโรงเรียนของ มาร์กาเรต แทตเชอร์
แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพศจิกายน ในปี พ.ศ. 2533 จากการที่เธอไม่ยอมให้สหราชอาณาจักรเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EU) และจากความขัดแย้งภายในพรรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ครับ
สำหรับนโยบายการศึกษาที่สำคัญของนายกหญิงเหล็กคนนี้นั้น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของหลายสิ่งที่ส่งผลกระทบของเรานักเรียนต่างชาติที่สนใจศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญในหลายเรื่องอันเป็นนโยบายที่ไม่ถูกใจชาวต่างชาติอย่างเราๆสักเท่าไหร่ เรามาดูนโยบายการศึกษาของ มาร์กาเรต แทตเชอร์กันครับ
นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษาในโรงเรียนของ มาร์กาเรต แทตเชอร์
- แจกนมโรงเรียนฟรี สำหรับนักเรียนอายุ 7 - 11 ปี
- จัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานทางการศึกษา (Office for Standards in Education (Ofsted))
- วางแผนอำนาจการบริหารการศึกษาท้องถิ่นให้สามารถบริหารงานได้ด้วยงบประมาณของตนเอง
- ถอดถอนแผนการให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียนแม้จะได้รับเสียงคัดค้านเป็นส่วนใหญ่จากนักเรียนและชนชั้นกลาง
- สั่งปิดโรงเรียนมัธยมที่ไม่ได้มาตรฐานหลายแห่งในประเทศ อนุมัติข้อเสนอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแค่ 326 โรงเรียน จากที่มีข้อเสนอถึง 3,612 โรงเรียน ในสมัยที่เธอดำรงตำแหน่งเลขาธิการการศึกษา
นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของ มาร์กาเรต แทตเชอร์
- แนะนำให้มหาวิทยาลัยเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (ซึ่งก่อนหน้าปีค.ศ.1981 นักเรียนต่างชาติได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน)
- การสร้างระบบการตลาดขึ้นของระบบมหาวิทยาลัยอังกฤษ อันเป็นจุดเริ่มต้นของเงินทุนขนาดใหญ่และจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร
- ตัดเงินสนับสนุนการวิจัยของรัฐบาลที่มีให้มหาวิทยาลัย
- มรดกที่ยั่งยืนของมาร์กาเรต แทตเชอร์ที่ส่งผ่านสู่ โทนี่ แบล และเดวิด คาเมรอน ได้แก่ เรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กของสหราชอาณาจักรคนนี้ อย่างน้อยเธอก็มีความโดดเด่นในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภาคเอกชน แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติอย่างเราๆที่สนใจเรียนต่ออังกฤษ คงเป็นนโยบายร้ายๆที่อยากให้เปลี่ยนแปลงครับ
บทความโดย : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูลประกอบ และอ่าน นโยบายการศึกษาของมาร์กาเรต แทตเชอร์ เพิ่มเติมได้ที่ :
1.The Cambridge Biograhical Encyclopedia / Edited by David Cystal-2nd ed., Cambridge University Press, 2000
2. Learning Crystallography และ Crystal Lattice Structures
3. The Irish education of Margaret Thatcher
4. Margaret Thatcher's legacy: Spilt milk, New Labour, and the Big Bang - she changed everything
5. How Margaret Thatcher transformed our universities
6. Reitan, Earl Aaron (2003). The Thatcher Revolution: Margaret Thatcher, John Major, Tony Blair, and the Transformation of Modern Britain, 1979–2001. Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-2203-2.
7. Wapshott, Nicholas (2007). Ronald Reagan and Margaret Thatcher: A Political Marriage. Sentinel. ISBN 1-59523-047-5.
Photo Credits:
1. www.theepochtimes.com
2. businessinsider.com
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
Tony Teerati
ชม 818 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES