ลบ
แก้ไข
ซีพีร่วมนอร์ทเชียงใหม่ เปิดป.ตรีค้าปลีก ให้ทุน 80 ทุน
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เปิดหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น) ประกาศให้ทุนการศึกษา 80 ทุน
นางสาวชุติมา ชวสินธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียใหม่ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของบันทึกความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาอาชีพนักศึกษาระหว่าง มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ นำโดย นายณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) นำโดย นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) /นายเฉลิมชัย ฉัตรชัยกนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานธุรกิจและปฏิบัติการ บริษัทไทยสมาร์ทคาร์ดจำกัด และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นำโดย อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตระกูล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ณ ห้องรัฐมนตรี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จึงเป็นที่มาของการ เปิดหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2556 ในเดือนมิถุนายนนี้ ว่า “เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการผลิตกำลังคนในระดับปริญญาตรี ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งช่วยเหลือในด้านการศึกษาแก่เยาวชนให้มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ และยังเป็นการสร้างงาน ช่วยผลิตนักศึกษาและพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน)ในการเปิดศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์กว่า 20 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจ สนับสนุนเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อและมีงานทำ ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ด้านธุรกิจค้าปลีกครบวงจร และสร้างงานในท้องถิ่นชนบท วิชาที่สอนได้แก่ บัญชี การขาย ธุรกิจค้าปลีก คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ ศิลปะการขาย การจัดแสดงสินค้า การบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต เป็นต้น”
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเคยเข้ารับประทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริโสภาพรรณวดี ประจำปีการศึกษา 2552 เคยให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อครั้งร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า สาเหตุที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ต้องเปิดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ก็เพื่อผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกอย่างร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ที่มีการขยายตัวอย่างมากเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปีพ.ศ.2558 สิ่งสำคัญในการปรับตัวของคนไทย ที่คนส่วนใหญ่มองว่าน่าจะเป็นเรื่องภาษาอังกฤษนั้น โดยส่วนตัวของท่านเห็นแตกต่างว่า น่าจะเป็นเรื่องระบบความคิด ระบบการบริหาร และการจัดการเป็นอันดับแรก ส่วนภาษานั้นก็มีความสำคัญไม่เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้นต้องพัฒนาภาษาอื่นๆด้วย ทั้งภาษาจีน และภาษาอื่นๆในกลุ่มประเทศอาเซียน จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ คุณก่อศักดิ์ยังอยากให้บัณฑิตไทยมีทัศนคติเรื่องการเรียนว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนด้วยการปฏิบัติจริง หรือ Learning by Doing นั่นเอง ที่สำคัญต้องการพัฒนาคนให้มุ่งหวังในการเป็นเจ้าของธุรกิจต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดีคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้สำหรับมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ตามความเหมาะสม เป็นการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงาน Work-Based Learning ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้ปรับตำแหน่งหน้าที่ถือเป็นความก้าวหน้าคือเป็นพนักงานสายปฏิบัติการ ทำงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน 1 (รักษาการผู้จัดการร้าน) หรือเป็นพนักงานสายสำนักงาน โดยสมัครในตำแหน่งที่สนใจ ที่สำนักทรัพยากรบุคคล สอบสัมภาษณ์ และสอบข้อเขียน กับสำนักทรัพยากรบุคคล/ต้นสังกัด หากสอบผ่าน สามารถทำงานในตำแหน่งที่สมัครได้ทันที สมัครเข้าโครงการ “แฟรนไชส์พนักงาน” เมื่อทำงานครบ 3 ปี เป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven
สำหรับปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัทซีพี ออลล์จำกัด(มหาชน)มอบทุนการศึกษา จำนวน 80 ทุน ตลอดหลักสูตรนักศึกษาจ่ายเพียง 8,000 บาทเท่านั้น
ส่วนคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับทุนการศึกษา คือ เป็นนักเรียน/นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 /ปวช หรือเทียบเท่า มีเกรดเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป
โดยเงื่อนไขผู้ขอรับทุนฯ คือ
1.) เป็นการให้ทุนฯแบบปีการศึกษาต่อปีการศึกษา โดยพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
2.)หากปีการศึกษาใดผู้ได้รับทุนมีระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 บริษัทจะระงับทุนฯในปีการศึกษาต่อไปและผู้รับทุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในปีการศึกษาถัดไปเอง
3.) หากผู้ได้รับทุนกลับมามีระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป ผู้ได้รับทุนจะได้รับทุนฯในปีการศึกษาถัดไป
4.) ทั้งนี้ต้องใช้เวลาศึกษา ไม่เกิน 4 ปี และเป็นไปตามแผนการเรียนที่สาขาวิชากำหนด เว้นแต่ได้รับการยกเว้นจากคณะกรรมการทุนการศึกษา
โดยเงื่อนไขผู้ขอรับทุนฯ คือ
1.) เป็นการให้ทุนฯแบบปีการศึกษาต่อปีการศึกษา โดยพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
2.)หากปีการศึกษาใดผู้ได้รับทุนมีระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 บริษัทจะระงับทุนฯในปีการศึกษาต่อไปและผู้รับทุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในปีการศึกษาถัดไปเอง
3.) หากผู้ได้รับทุนกลับมามีระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป ผู้ได้รับทุนจะได้รับทุนฯในปีการศึกษาถัดไป
4.) ทั้งนี้ต้องใช้เวลาศึกษา ไม่เกิน 4 ปี และเป็นไปตามแผนการเรียนที่สาขาวิชากำหนด เว้นแต่ได้รับการยกเว้นจากคณะกรรมการทุนการศึกษา
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053- 819999 หรือ 089-9994200
ต้นซุง eduzones
ชม 241 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES