ลบ
แก้ไข
มองโลก "การแข่งขันสหรัฐฯ-จีน" ความท้าทายของอาเซียน
สวัสดีชาว Interscholarship?ทุกคนครับ กับมาพบกับ?มองการศึกษาโลก?อีกครั้งหนึ่งครับ หลังจากที่เมื่อวันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ผมได้มีโอกาสไปเข้าฟังเสวนาวิชาการเรื่อง?"การแข่งขันสหรัฐฯ ? จีน: ความท้าทายของอาเซียน"?ซึ่งจัดโดย?ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับความรู้ดีดีเพื่อรู้เท่าทัน และก้าวตามชาติมหาอำนาจทั้งสองประเทศได้ในหลายด้านครับ
วัตถุประสงค์ในการจัดเสวนาในครั้งนี้มีประเด็นที่น่าสนใจในหลายเรื่องครับ ทั้งการเตรียมตัวของเราคนไทยให้พร้อมกับการเปิดประชาคมอาเซียน ประเด็นที่สำคัญคงจะเป็นเรื่องของการแข่งขันกันทางด้านเศรษฐกิจของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนที่มีผลกระทบต่อสถานะทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมของไทย ซึ่งสามเรื่องดังกล่าวถือได้ว่าเป็น 3 เสาที่สำคัญของการรวมประชาคมอาเซียน (ASEAN) ครับ
เนื้อหาและประเด็นที่สำคัญที่นำมาอภิปรายจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา อเมริกันศึกษา ประวัติศาสตร์ หนีไม่พ้นเรื่องของการ "เข้าใจเขาและเขาใจเรา" การทำความเข้าใจเหตุการณ์โลกในปัจจุบัน การปรับตัวให้พร้อมกับการเผชิญหน้าในอนาคตในทุกรูปแบบในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครับ
สามารถอ่านเอกสารประกอบการบรรยายได้ที่นี่ครับ
เอกสารประกอบการบรรยายของ?คุณพิษณุ เหรียญมหาสาร อดีตรองปลัด กระทรวงพาณิชย์
เอกสารประกอบการบรรยายของ?รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ?คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายของ?รศ.ดร. ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ??? ? ??
เอกสารประกอบ
การเสริมสร้างความรู้ในเรื่องอาเซียน ให้แก่สาธารณชนเป็นเรื่องที่สำคัญครับ เนื่องจากอาเซียนมีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ
ประเด็นที่น่าสนใจของการเสวนาคือเรื่องของ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งในปัจจุบัน กลุ่มประเทศอาเซียนถือเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย และจากการที่กำลังจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ในปี 2015 จะก่อให้เกิดการรวมตัวกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในภูมิภาค ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทยเป็นอย่างมาก ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องตั้งรับต่อการรวมตัวดังกล่าว และที่สำคัญคือเรื่องบทบาทและทิศทางด้านการศึกษาจากประเทศทั้งในภูมิภาคอาเซียนและสองชาติมหาอำนาจดังกล่าวครับ
บทความโดย?: ธีรติร์ บรรเทิง (ต้นซุง eduzones)
ขอบคุณข้อมูล?: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชนิตสิรี แก้วอุด
ชม 12 ครั้ง
TOP RELATED
NEW STORIES