เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6 : มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia)

เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 6

บทความโดย : ต้นซุง eduzones

สวัสดีทักทายชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งครับ อาเซียนซีรีย์มาถึงตอนที่ 6 กันแล้วนะครับ โดยวันนี้ มองการศึกษาโลก ยังคงพาทุกคนมาทำความรู้จักการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราให้มากขึ้นกับซีรีย์ "เรียนต่ออาเซียน" ซึ่งจะแนะนำมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่น่าสนใจของประชาคมอาเซียนของเราให้ได้รู้จักกัน และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประสงค์จะเรียนต่อในภูมิภาคของเรา ภูมิภาคที่น่าค้นหาแห่งนี้ให้มากขึ้นครับ 

(ทบทวนความรู้ : รู้จัก "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน" (ASEAN University Network))

อาเซียนซีรีย์ตอนที่ 6 มาที่ประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของเราอย่างประเทศมาเลเซียครับ ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีเสน่ห์สำหรับนักเรียนไทยไม่น้อยอีกประเทศหนึ่ง อันเนื่องด้วย ระบบการศึกษารากฐานมาจากประเทศอังกฤษ ค่าเล่าเรียนที่ไม่แพงมาก มีมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพของการสอนและการวิจัย แถมนอกจากภาษามลายูที่ใช้สื่อสารกันแล้ว การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งของประเทศยังใช้ภาษาอังกฤษเป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนอีกด้วย สำหรับมหาวิทยาลัยแรกของมาเลเซียที่มาแนะนำในวันนี้นั้นเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ครับ เรามาทำความรู้จัก มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) กันครับ  

(ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการศึกษาและระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย : 
มองการศึกษาและทุนเรียน AEC (Focus :Malaysia)
มองการศึกษาและทุนเรียน AEC (Malaysia นักเรียนอินเตอร์มากอันดับ 11 โลก))

 
                    

มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐครับ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเซลังกอร์ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปุตรามาเลเซียเป็นมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันดีในชื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของมาเลเซีย (Agricultural University of Malaysia)  โดยมีการเรียนการสอนที่มีชื่อเสียงในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ในด้านเกษตรกรรม ครับ 

ประวัติของมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียเริ่มต้นตั้งแต่ครั้งก่อตั้งเป็น โรงเรียนเกษตรกรรมของประเทศมาเลเซีย ในช่วงปีค.ศ. 1931 โดยการริเริ่มของ John Scott ผู้บริหารของอาณานิคมอังกฤษ และโรงเรียนได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมาจนจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมของมาเลเซีย ในปี ค.ศ.1969 หลังจากนั้นกี่ปี กษัตริย์ ยังดี เปอร์ตวน อากง มีดำริให้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยของมาเลเซียขึ้นมา โดยต้องการส่งเสริมวิทยาการความรู้ในสาขาวิชาด้าน การเกษตร ป่าไม้ สัตวแพทย์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ให้มรการศึกษาวิจัยในสาขาวิชาเหล่านี้อันเป็นแสงนำทางความรู้และปัญหาแก่คนมาเลเซียมากขึ้น จนพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยและใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยเปอร์ทาเนียนมาเลเซีย
 (Universiti Pertanian Malaysia) หลังจากนั้นได้มรการรวมคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของมาเลเซียเข้าเป็นส่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยเปอร์ทาเนียนมาเลเซียครับ

มหาวิทยาลัยเปอร์ทาเนียนมาเลเซีย เริ่มการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1973 โดยมีคณะวิชาแรกเริ่ม ได้แก่ คณะเกษตร คณะวนศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยา โดยเริ่มการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี จนในปีค.ศ.1980 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย และได้เปลี่ยนชื่อของมหาวิทยาลัยอีกครั้งในปีค.ศ. 1997 มาเป็นมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) เพื่อเฉลิมฉลองและยกย่อง ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ผู้นำการเรียกร้องเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ Bapa of Malaysia ครับ

คณะสาขาวิชาที่เปิดสอน

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย เป็นอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งซึ่งเป็นความภูมิใจของคนมาเลเซีย มีคณะสาขาวิชาที่มีชื่อเสียงมากมาย ในสายเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้

1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมาเลเซียที่ใหญ่ที่สุด มีศูนย์วิจัยและห้องทดลองมากมาย นักเรียนในระดับบัณฑิตศึกษากว่าครึ่งเป็นนักเรียนต่างชาติ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง เช่น วิศวกรรมอวกาศยาน วิศวกรรมการเกษตรและวิศวกรรมชีวภาพ วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมอาหาร เป็นต้น
2. คณะวิทยาศาสตร์ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียงในด้าน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิทยาการคอมพิวเตอร์
3. คณะแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง เช่น ชีวการแพทย์ สัตวแพทย์ สัตววิทยา นิเวศวิทยามนุษย์ และแพทยศาสตร์ เป็นต้น
4. คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง เช่น เศรษฐศาสตร์ และธุรกิจการเกษตร เป็นต้น
5. คณะเกษตรศาสตร์ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง เช่น พืชไร่ พืชสวน พันธุ์พืช และดิน 
6. คณะเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตรโมเลกุลชีวภาพ มีสาขาวิชาที่มีชื่อเสียง เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และ จุลชีววิทยา 

นอกจากนี้ยังมีสถาบันวิจัยด้านชีววิทยา เทคโนโลยีขั้นสูง สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์ สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ฮาลาล และสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย

ความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียมีความร่วมมือกับวิทยาลัยอิมพีเรียลในอังกฤษในหรักสูตรปริญญาเอกร่วม (Malaysia-Imperial Doctoral Programme (MIDP) ) ในภาควิชา วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิคส์ วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสาขาทางแพทยศาสตร์อีกด้วย นอกจากนี้นักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยยังมีโอกาสสมัครทุนการศึกษา "The Split PhD scholarship" ไปแลกเปลี่ยนทางวิชาการและทำวิจัยในมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (the University of Melbourne) ในออสเตรเลีย เป็นต้น

สาขาวิชาด้านวนศาสตร์หรือป่าไม้ในประเทศมาเลเซียนับว่ามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากและมีโครงการความร่วมมือกับหน่อยงานเอกชนและภาคส่วนต่างๆภายในและนอกประเทศ นักศึกษาของสาขาวิชาวนศาสตร์มีโอกาสในการไปทำงานวิจัยที่เขตป่าสงวน Ayer Hitam Reserved Forest และยังมีโอกาสเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูป่า MItsubishi Corporation Forest Restoration Project อีกด้วย


                    

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (Admissions)

ปริญญาตรี

สาขาวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียโดยเฉพาะหลักสูตรนานาชาติ มีเปิดสอนมากกว่า 70 หลักสูตร

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ > หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี 

โดยการสอบเข้ามีหลากวิธี เช่น

1. จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและยื่นสำเนาในประกาศนียบัตรมัธยมปลาย
2. ผ่านการสอบข้อสอบเข้าของมหาวิทยาลัย
3. ผ่านการสอบ TOEFL 80 คะแนน หรือ IELTS 6.0
(รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตรไฟล์แนบ)

บัณฑิตศึกษา

นักศึกษาที่สนใจสมัครสอบเข้าในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยทุกคนต้องผ่านการสอบ IELTS 6.0 หรือ TOEFL 80 คะแนน ถ้ามีคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเป็นกรณีเพื่อให้นักศึกษา ศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพิ่มเติมก่อนเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สามารถศึกษาสาขาวิชาที่เปิดสอนเพิ่มเติมได้จากลิ้งก์นี้ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ค่าเล่าเรียน

ค่าครองชีพในการเรียนที่ประเทศมาเลเซียถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในฝั่งตะวันตกครับ ปีหนึ่งจะใช้จ่ายรวมทุกอย่างอยู่ที่ประมาณ 200,000-300,000 บาท ก็สามารถอยู่ได้สบายครับ

ค่าเล่าเรียนระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ)

-สาขาด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ตลอดหลักสูตร 3 ปีครึ่ง-4 ปี ประมาณ 350,000-400,000 บาท
-สาขาด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดหลักสูตร ประมาณ 500,000-700,000 บาท
(หลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ นานาชาติ ตลอดหลักสูตร 2,100,000 บาท โดยประมาณ)

ค่าเล่าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา

- ปีละประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป 

ค่าที่พักอาศัย

-ค่าหอพักของมหาวิทยาลัย อยู่ที่ 3,000-9,000 บาท ต่อเดือน

ค่าเดินทาง

-เฉลี่ยอยู่ที่ 600 บาทต่อเทอม

ทุนการศึกษา 

รัฐบาลมาเลียเซียมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ ด้วยความที่ต้องการให้ประเทศเป็นฮับทางการศึกษาในอาเซียนครับ ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่นักเรียนไทยสามารถสมัครได้มี 2 ทุนใหญ่ๆ ได้แก่

1. Malaysia International scholarship (MIS)
-รัฐบาลมาเลเซียพยายามที่จะดึงดูดนักเรียนที่มีความชาญฉลาดและดีที่สุดจากทั่วโลก ให้มาเรียนต่อในประเทศมาเลเซีย และทุนการศึกษา Malaysia International scholarship (MIS)  นี้ ก็ค้นหานักเรียนที่มีความสามารถที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีประสบการณ์อัน น่าประทับใจ  นักเรียนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีในการสมัครและ สามารถเลือกเรียนสาขาใดก็ได้ที่ต้องการ ทั้งในสถาบันเอกชนและรัฐบาล

สามารถเข้าไปเว็บไซต์ mohe.gov เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ปิดรับสมัครวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
 
2. Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals
-ทุน Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals  นี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของความรู้ในเอเชีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภูมิภาคเอเชียแปซิ ฟิค และเพื่อสร้างการเติบโตของความเป็นเอเชีย รายละเอียด : ทุน API ปิดรับสมัคร 31 สิงหาคม ของทุกปี

มาเลเซียไม่เพียงแค่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น  แต่ยังกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักเรียนจากทั่วทุกมุมโลก

ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย มีมากมายที่เป็นทุนภายในมหาวิทยาลัย ทั้งทุนผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) และทุนผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant) เช่น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ชาว Interscholarship หวังว่ามหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียจะเป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่น่าสนใจในการเรียนต่อไม่น้อยสำหรับนักเรียนไทยนะครับ ตอนหน้ายังคงอยู่ที่ประเทศมาเลเซียครับ ว่าแต่จะเป็นมหาวิทยาลัยไหนนั้น ติดตามได้เลย

บทความโดย : ต้นซุง eduzones

ขอบคุณข้อมูล
มหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย 


อ่านบทความ เรียนต่ออาเซียน ย้อนหลัง
 
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 1 : มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh)
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 2 : มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 3 : การศึกษาในประเทศบรูไน
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 4 : มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)
- เรียนต่ออาเซียน ตอนที่ 5 : ซินจ่าว ! การศึกษาเวียดนาม และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University)


                                        กังนัมสไตล์ เวอร์ชั่น มห

พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :
โดย Tony Teerati
วันที่ 28 เมษายน 2556
พิมพ์หน้านี้