สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ ทุกวันนี้เอเชียกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้นโดยมีภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง ซึ่งมีความสำคัญและมีอิทธืพลอย่างสูงในวงการการศึกษาเป็นอย่างมากครับ
ตัวอย่างเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ผ่านมาที่ Singapore Management University รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ Heng Swee Keat ได้กล่าวสุนทรพจน์ถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาไว้ว่า สิงคโปร์กำลังทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในเอเชียและกำลังพัฒนาสู่ฮับของเอเชียซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับทั่วโลก
"internationalisation" หรือ "การกลายเป็นนานาชาติ" ของสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงภาษาที่สำคัญอย่าง "ภาษาอังกฤษ" สองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ประเทศสิงคโปร์ เป็นฮับหรือ ศูนย์กลางของเอเชีย (Global Asian Hub) ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของการพัฒนาที่สำคัญในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการจะพัฒนาให้เอเชียกลายเป็นนานาชาติมากขึ้นนั้นยังคงประสบปัญหาอยู่ เพราะหลายประเทศในเอเชียและมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังคงห่างไกลจากการพัฒนาโดยการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนซึ่งเป็นสิ่งที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
นอกจากนี้นักวิชาการยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษและระบบความรู้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาประเทศเพียงอย่างเดียว ในการเข้าถึงทรัพยากรในการแลกเปลี่ยนและผลิตความรู้ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ในการกลายเป็นนานาชาติที่แท้จริง ซึ่งความรู้ในวงวิชาการที่ถูกผลิตเป็นภาษาอังกฤษยังอยู่ในจำนวนที่ต่ำกว่าความรู้ในภาษาตระกูลเอเชีย และมันมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูง โดยมีแค่บางพื้นที่ที่เผยแพร่งานวิชาการเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการบูรณาการทางปัญญา
สัญญาณการกลายเป็นนานาชาติของเชียเชียเริ่มปรากฎขึ้น นักวิชาการหลายคนรวมทั้งในเอเชีย มีความสนใจและต้องการเผยแพร่งานของพวกเขาในภาษาอังกฤษ หลายคนยอมรับว่าต้องการเผยแพร่งานวิชาการเกี่ยวกับเอเชียในสื่อภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแนวโน้มในการปรับตัวที่ดี
กรณีศึกษาใน ประเทศญี่ปุ่น บทบาทที่น่าจับตามองในการพัฒนาสู่ระดับสากลโดยในระดับอุดมศึกษา มีการศึกษาบทบาทของภาษาอังกฤษและปัญหาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมระดับชาติ โดยได้พัฒนา โครงการ "Global 30" ในปี 2008 เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็น "ภาษาอังกฤษ" ระดับปริญญาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยโครงการดังกล่าวมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นกว่า 30 แห่งในการเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในประเทศญี่ปุ่นและเป็นการดึงดูดนักเรียนต่างชาติจากทั่วโลก
นโยบายหนึ่งในการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น คือ นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นผ่านการศึกษาด้วยภาษาอังกฤษ สิ่งที่ญี่ปุ่นต้องให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษมากนั้น เพราะการไม่รู้ภาษาอังกฤษเป็นการลดศักยภาพในการพัฒนาประเทศจากการเผยแพร่วัฒนธรรมของตะวันตกและจากความกดดันของนักวิชาการในประเทศ ในการพัฒนาสู่โลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ แต่ก็ยังมีกระแสที่มองว่ามีการพึ่งพาภาษาอังกฤษที่มากเกินไป และอาจจะทำให้มีการสูญเสียความรู้ในภาษาญี่ปุ่นหรือในภาษาอื่นๆซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระดับชาติ
การขยายตัวของหลักสูตรภาษาอังกฤษกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงนวัตกรรมทางการศึกษา ทุนการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และความเชื่อมั่นในภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวในทวีปเอเชีย
ในการจัดการศึกษาบางอย่าง ภาษาอังกฤษถูกสอนในชั้นเรียนของเยาวชนมากขึ้น มันเป็นเรื่องที่ธรรมดามากขึ้น และปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นอีกอย่าง คือ มีหลายคนที่หยุดการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นเมื่อพวกเขาก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย นักเรียนหลายคนไม่ทราบวิธีการนำเสนองานวิชาการในภาษาท้องถิ่นของตนเอง ได้แก่ รูปแบบ แนวคิด ทฤษฎีและคำศัพท์ต่างๆที่จำเป็นในการศึกษา จนอาจจะเรียกได้ว่า "เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ" ในภาษาแม่ของตนเอง
แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากในเอเชียที่ใช้ภาษาแม่ของเขาเป็นภาษาอังกฤษและเรียนรู้ภาษาอื่นๆนอกจากภาษาท้องถิ่นของตนเอง แต่ก็ยังถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในบริบทใหญ่ของเอเชีย
ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตามการพัฒนาที่เป็นสากล รวมถึงอุตสาหกรรมพาณิชย์ในภาษาอังกฤษซึ่งอยู่ในนโยบายของรัฐบาลเช่นเดียวกับวาระการสร้างชาติที่มีแนวโน้มที่จะบ่อนทำลายภาษาท้องถิ่น
ภาษาอังกฤษจะไม่ได้มาแทนภาษาท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิงแต่อาจจะสร้างความแตกแยกในสังคมท้องถิ่นระหว่างผู้ใช้ภาษาอังกฤษและผู้ที่ไม่ได้ใช้มัน ในขณะที่ความรู้ทั่วโลกไหลเวียนเป็นภาษาอังกฤษแต่เหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งของการใช้ภาษาอังกฤษ คือ "การทำให้โลกมีความเป็นธรรมมากขึ้น" คือการทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงความรู้ในแบบเดียวกัน
เหตุผลที่สำคัญในการพัฒนาประเทศสู่การใช้ภาษาอังกฤษ ผู้กำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศควรคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุปสรรคทางด้านภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งที่จะพัฒนาสู่วาระของ "โลกาภิวัตน์"
บทความโดย: ต้นซุง eduzones
แปล/เรียบเรียงจากคำบรรยายของ : ศาสตราจารย์ Phan Le Ha แห่งคณะศึกษาศาสตร์ Monash University ประเทศออสเตรเลีย เรื่อง "Global Status of English and the Policy and Practices of Internationalisation" Email: ha.phan@monash.edu
พูดคุยกับต้นซุง Eduzones และอัพเดททุกข่าวการศึกษาอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ และสอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน ได้ที่นี่ :