สิงคโปร์เผยนโยบาย Medical Hub ศูนย์กลางการแพทย์ของเอเชีย
สิงคโปร์เผยนโยบาย Medica

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนอีกครั้งหนึ่งนะครับ ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจการรักษาพยายบาลในฐานะเป็นธุรกิจที่สำคัญในการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะจากผู้ป่วยต่างประเทศต่างๆ ได้แก่มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และศรีลังกา
 
ประเทศสิงคโปร์ประเมินว่า ในแต่ละปีจะมีชาวต่างชาติจาก 60 ประเทศทั่วโลก จำนวน 400,000 คนมารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในประเทศสิงคโปร์ ความมีชื่อเสียงและพยายามชักชวนให้โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น John Hopkins และ The West Clinic มาเปิดดำเนินการในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ จุดเด่นของการให้บริการสุขภาพของประเทศสิงคโปร์คือการพัฒนาวิจัยและการใช้เทคโนโลยีด้าน bio-medicine ซึ่งมีบริษัทวิจัยและบริษัทยาที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านนี้มาดำเนินกิจการในประเทศนี้
 
คณะทำงาน The Healthcare Service Working Group (HSWG) ได้เสนอต่อ Service Subcommittee Economic Review Committee ถึงวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์ให้บริการรักษาพยาบาลของเอเชีย (Healthcare Service Hub in Asia) โดยตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่าล้านรายในปี 2556 นี้
 
อย่างไรก็ตามภายหลังวิกฤติทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สิงคโปร์ลดจำนวนลง เนื่องจากสิงคโปร์มีประเทศคู่แข่งในธุรกิจรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และประเทศเหล่านั้นได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาด เพื่อชักชวนให้เข้ารับการรักษาในประเทศนั้น ๆ ด้วยการจูงใจในลักษณะราคาถูกกว่า คุณภาพดีกว่าหรือเท่าเทียมกัน ในขณะที่ประเทศคู่แข่งขันได้พัฒนาในด้านการให้บริการรักษาพยาบาล เทคโนโลยีการบริหารจัดการธุรกิจรักษาพยาบาล และการใช้กลยุทธ์ของการท่องเที่ยวและการรักษาพยาบาลร่วมกันในลักษณะ Check-in and Check-up Packages ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้เข้ารับการรักษาในสิงคโปร์

สิงคโปร์เผยนโยบาย Medica
โรงเรียนการแพทย์ดุ๊ก-มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของประเทศสิงคโปร์โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
 
นอกเหนือจากการพัฒนาศักยภาพทางด้านการแพทย์ ซึ่งในปัจจุบันการรักษาด้านโรคหัวใจ (Cardiology) เป็นสาขาการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับมากในสิงคโปร์ และพยายามจะพัฒนาเป็น Medical Hub ในการรักษาด้านนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังมีการจัดตั้งระบบประกันสังคม เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับประชาชนเพื่อดูแลด้านสุขภาพและเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยระบบประกันสังคมของสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
 
1. Medisave หรือการใช้บัญชีออมสุขภาพ ซึ่งเป็นภาคบังคับที่ประชาชนใช้เงินออมในบัญชีของตนเอง
 
2. Medishield เป็นระบบประกันสุขภาพสมัครใจที่ครอบคลุมโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยจะสามารถหักเงินจากบัญชีออมเพื่อสุขภาพมาซื้อประกันในส่วนนี้ได้
 
3. Medifund เป็นระบบสังคมสงเคราะห์ของรัฐบาลในกรณีที่ประชาชนไม่มีเงินพอ
 
ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ประชาชนก็จะนำเงินจากบัญชีเงินออมสุขภาพมาจ่ายให้กับโรงพยาบาล  ในกรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคค่าใช้จ่ายสูง หากซื้อประกันแบบสมัครใจไว้ ประกันสุขภาพสมัครใจนี้ก็จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่หากค่ารักษาพยาบาลสูงมากไม่สามารถจ่ายได้ ก็จะสามารถขอสังคมสงเคราะห์ได้ตามลำดับ
 
ผลการศึกษาของระบบบัญชีเงินออมสุขภาพในประเทศเหล่านี้พบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้น้อยมาก ประสบการณ์จากสิงคโปร์ชี้ว่ารายจ่ายด้านสุขภาพจาก Medisave และ Medishield เป็นเพียงร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพของประเทศ
 
อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤตทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 จำนวนผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่สิงคโปร์ลดจำนวนลง เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลในสิงคโปร์สูงขึ้นมาก เป็นผลมาจากต้นทุนในการประกอบธุรกิจการแพทย์และค่าจ้างแพทย์ซึ่งถือเป็นวิชาชีพขาดแคลนในสิงคโปร์มีอัตราสูงมาก นอกจากนี้สิงคโปร์มีประเทศคู่แข่งในธุรกิจรักษษพยาบาลเพิ่มขึ้น เช่น มาเลเซีย และไทย
 
โดยปัจจุบันนี้ ระบบประกันสังคมของสิงคโปร์ได้อนุญาตให้ประชาชนสิงคโปร์เดินทางไปรักษาพยาบาลในมาเลเซียโดยที่ระบบประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลตัวเงื่อนไขที่กำหนดเนื่องจากมีราคาถูกกว่าในมาตรฐานใกล้เคียงกันครับ

ประเทศไทยจะศึกษานโยบายด้านการแพทย์ของสิงคโปร์และนำมาปรับใช้ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ โดยเฉพาะการรับมือกับผู้ป่วยซึ่งมีรายได้ต่ำทั่วประเทศ และยังเป็นการจัดการกับปัญหาในระยะยาวได้อีกด้วย

เรียบเรียง : ต้นซุง eduzones
ขอบคุณข้อมูล : east asia watch
ภาพประกอบ : 
http://www.gvpedia.com , http://www.yale-nus.edu.sg
โดย Tony Teerati
วันที่ 6 มิถุนายน 2556
พิมพ์หน้านี้