เศรษฐกิจเปลี่ยนเด็กเวียดนามเลิกเรียนสาขาดัง
เศรษฐกิจเปลี่ยนเด็กเวียด 
สาขาที่เด็กนักเรียนในเวียดนามมักเลือกเรียนกันมากเป็นพิเศษในยุคหลัง ๆ  ในการเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร รวมทั้งธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนตกกระป๋อง กลายเป็นสาขาที่ถูกเมินไปแล้ว เมื่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เผยว่า อัตราการสมัครเรียนสาขาเหล่านี้ลดลงอย่างมากในห้วงเดือนเมษายนปีนี้   
            Dao Tuyet Hanh ผู้บริหารในส่วนการลงทะเบียนเข้ามหาวิทยาลัย ประจำ Viet Duc high schoolเผยว่า ในเดือนนี้นักเรียนของเธอที่ส่งใบสมัครเลือกเรียนทางสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องมีเพียง 20% เท่านั้น  ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสถิติปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราสมัครถึง 50%
           สถานการณ์คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นที่โรงเรียนมัธยมอีกหลายแห่ง รวมทั้ง Tran Nhan Tong and Dan Phuong high schools ที่ใบสมัครด้าน Economics ตกลงไประหว่าง 30% และ 50% ตามลำดับ  
         โดยก่อนหน้านี้ สถิติรวมทั่วประเทศเวียดนาม ในระหว่างปี 2009-2011 นั้น แสดงให้เห็นว่า ในใบสมัครเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียนทั้งหมดมีมากถึง 41% ที่เลือกเรียนทาง Economics และสาขาที่เกี่ยวข้อง                 
         Phuong Nhiนักเรียนที่อยู่ในนครโฮจินมิน ซึ่งเลือกคณะแพทย์ศาสตร์ อันดับ 1 ตามด้วยวิทยาศาสตร์เป็นอันดับ 2 กล่าวว่า การที่นักเรียนเปลี่ยนการเลือกสาขาเรียนไปจากสาขายอดฮิตในปัจจุบัน มีเหตุผลหลักมาจากความอิ่มตัวของความต้องการของตลาดแรงงานของบัณฑิตที่จบมาทาง Economics and Business
         ขณะที่ Dr Dang Ngoc Duc รองผู้อำนวยการสถาบันการเงินและการธนาคารของ National Economic University วิเคราะห์ว่า ในสิ้นปีนี้ จะมีผู้ที่จบการศึกษาทางสายงานของเขา มากกว่า 10,000 คน ที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการว่างงานทั้งหมดหรือบางส่วน เหตุผลสนับสนุนที่เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คิอ ตลาดแรงงานทางด้านการบัญชีและตรวจสอบบัญชีในนครโฮจินมินห์ ซิตี้ สามารถมีที่ว่างรับผู้จบการศึกษาเหล่านี้ ได้เพียง 10% ของพวกเขาเท่านั้น
          ในกรณีของสาขาทางด้าน Information technologyซึ่งเคยเป็นสาขาที่ร้อนแรงที่สุดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ต้องเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน คือมีคนต้องการเรียนน้อย แต่มีเหตุผลที่แปลกไปบ้าง ตรงที่คนที่จบมาทางด้านนี้ มักมีความรู้ความชำนาญที่ไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน แต่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานด้านนี้ กลับพบปัญหาว่า มีการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ หมายถึงคนที่จบมามักมีความรู้ไม่ถึงตามที่บริษัทต่าง ๆ ต้องการ
            จากการเปิดเผยของ Ministry of Information and Communication สิ่งที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดแรงงานก็คือ ภายในปี 2015 จะมีความต้องการวิศวกร และแรงงานด้านเทคนิค ประมาณ 411,000 คน ขณะที่การผลิตผู้ที่จบด้านสายอาชีพเหล่านี้ มีเพียงประมาณ 60,000 คนเท่านั้น
 แหล่งข่าว: Hiep Pham,20 April 2013
โดย สมเกียรติ เทียนทอง
วันที่ 22 เมษายน 2556
พิมพ์หน้านี้