ประกาศ TRANSPARENT RANKING: Top Universities by Google Scholar Citations หรือ ความสามารถในการเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ประจำเดือนกรกฎาคมศกนี้ มีมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 31 แห่ง นำโดยจุฬาฯ,มหิดล และAITส่วนที่ทำผลงานโดดเด่นคือ มทร.ธัญบุรี ขึ้นมาอยู่อันดับ 17 (เดิม 27) รอบนี้ยังไม่พบมทร.อื่น ที่ได้รับการจัดอันดับ
จำนวนCitation ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีนี้เปรียบเทียบปีก่อน ๆ คือ
อนึ่ง ในบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฏของเมืองไทย สวนสุนันทาครองอันดับ1 โดยได้อันดับ 19
Webometrics Ranking of World Universities หรือ "Ranking Web of World Universities" จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC) สภาวิจัยแห่งชาติ (Spanish National Research Council - CSIC) ณ กรุงแมดดริด ประเทศสเปน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2004 มีเว็บไซต์อยู่ที่
http://www.webometrics.info นักวิจัยที่มีบทบาทสำคัญคือ Isidro F. Aguillo
การจัดลำดับโดย Webometrics เกิดจากความเชื่อที่ว่า Web จะเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และในที่สุด Open Acess Initiatives ซึ่งเป็น web publications หรือ electronic publications จะมีผลกระทบและมีการเข้าถึงได้มากกว่าสิ่งตีพิมพ์ (Publications) ชนิดใดๆ ดังนั้น Webometrics จึงเป็นการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผ่านทางเว็บไซต์ การปรากฎตัวบนอินเตอร์เน็ต และดูจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ Link มายังเว็บเพจ หรือวัดผลกระทบการอ้างอิง ตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก (external inlinks / sitations หรือ site citations) ซึ่งจะแสดงถึง visibility และ impact ของ web publications นั้นๆ จากกนั้นทำการจัดลำดับ โดยใช้ดัชนี Web Impact Factor (WIF) ซึ่งใช้หลักการที่ดัดแปลงและประยุกต์มาจาก Journal Impact Factor (JIF) ของฐานข้อมูล Thomson's ISI Journal Citation Reports (JCR)
การประกาศผลจัดอันดับจะทำทุกเดือนมกราคม และกรกฎาคมของทุกปี มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดอันดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิต web publications และความเป็น open access ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งเป็นการวัดผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต นอกเหนือจากการวัดด้วยดัชนีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัย แบบที่เรารู้จักกันดี ที่เรียกว่า bibliometric indicators เท่านั้น หรือมองอีกแง่หนึ่งก็คือ วัดความสามารถในการเป็น "มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (E-university)" นั่นเอง
วัตถุประสงค์ในการจัดทำ Ranking นี้ มีกลุ่มเป้าหมายสำคัญอยู่ที่บรรดาผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ web performance ของสถาบันการศึกษาใด ได้ลำดับที่ต่ำกว่าความคาดหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันนั้นๆ ผู้จัดทำ Webometrics Ranking เสนอแนะให้ผู้บริหารของสถาบัน ทบทวนนโยบายด้านการจัดทำเว็บไซต์ของตน และสนับสนุนนโยบายด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตของสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการ ในรูปแบบ electronic publications ให้มากยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมายสำคัญรองลงมาคือ บรรดาอาจารย์ นักวิจัย ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากคาดว่าในอนาคตผลงานทางวิชาการในลักษณะ web publications นี้ อาจมีส่วนในการประเมินผลงาน นอกเหนือจากการวัดด้วย scientometric หรือ bibliometric indicators แบบเดิม และนอกจากนั้นบรรดานักเรียน นักศึกษา อาจใช้ประกอบการพิจารณาเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาจากการที่มหาวิทยาลัยมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ไว้อย่างเพียงพอ ปัจจุบัน Webometrics Ranking ได้ทำการตรวจสอบมหาวิทยาลัย (โดยดูจากชื่อ domain)