Kong Sokhom นักศึกษาสัตวแพทย์ ?วัย 20 ปี ชาวเขมรที่มีพื้นเพอยู่ในเมืองหลวงพนมเปญ ของประเทศกัมพูชายังคงเหลืออีกเพียง 2 ปี ก็จะสำเร็จการศึกษาจากสถาบัน Preak Leap National School of Agriculture โดยหวังจะนำทักษะความรู้ไปใช้ในการช่วยพัฒนาประเทศที่ได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? แต่เขากลับเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของตนเอง
Sokhom คิดว่าการศึกษาเล่าเรียนของเขาเป็นสิ่งที่เกือบไร้ค่า บรรยากาศภายในห้อง เรียนจะเต็มไปด้วยนักเรียนที่ไม่มีความมุ่งมั่นในการเรียนเอาซะเลย ไม่มีใครใฝ่ใจทุ่มเทกับการเรียนให้เต็มที่? ในขณะที่ภาพอาจารย์ผู้สอนก็ดูมีคุณวุฒิไม่ถึงกับระดับในการสอน
????????? "เมื่อผมเรียนจบ ผมไม่ทราบจริง ๆ ว่าจะทำอย่างไรกับปริญญาที่จะได้รับจากมหาวิทยาลัยนี้ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่ามันได้มาจากการศึกษาที่คุณภาพต่ำมาก" Sokhom กล่าวเคร่งขรึม
ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาหลายคน บอกว่า ในทุกปีกัมพูชาผลิตบัณฑิตนับแสนคน ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับ Sokhom ที่มักมีคุณสมบัติที่ผ่านการเรียน และบ่มทักษะที่ไม่ดีพอหรือเหมาะกับงาน ด้วยเหตุที่ยังมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างวิชาเรียนที่มหาวิทยาลัย กับทักษะในการทำงานที่จำเป็นต้องมี
??????????? Chea Vannath ?ในฐานะนักสังคมวิทยาและนักวิจัยอิสระ กล่าวว่าบัณฑิตกัมพูชามักพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะไคว่คว้าได้งานตามสาขาที่ตนเรียนมา ซึ่งจากตัวเลขของสถาบันเศรษฐกิจของกัมพูชาก็ชี้ให้เห็นว่า มีเพียง 1 ใน 10 ของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยต่าง? ๆ ที่ได้งานทำ โดยสถิติดังกล่าวสร้างความวิตกและเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ที่พยายามรื้อพื้นระบบเศรษฐกิจ และภาพของประเทศมาเป็นเวลา 3 ทศวรรษ หลังจากที่ระบบการเงิน การศึกษา และกฎหมาย ต่าง ๆ ถูกทำลายลงอย่างยับเยินในห้วงสงครามกลางเมืองยุคเขมรแดง
ปัญหาเรื่องความด้อยของระบบการศึกษาจะส่งผลกระทบมากขึ้นไปอีก เมื่อกัมพูชาต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของAEC หรือประชาคมอาเซียน ในปี 2015 เมื่อแรงงานฝีมือในประเทศอาเซียนจะมีการเคลื่อนไหวเต็มรูปแบบภายในภูมิภาค โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่น ๆ ที่มีบรูไน อินโดนีเซีย ?มาเลเซีย ?ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ล้วนมีการพัฒนาที่มากกว่ากัมพูชา มีเฉพาะลาวกับพม่าที่ดูเหมือนยังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกับกัมพูชา
ความกังวลที่เกิดขึ้นคือคำถามว่า กัมพูชาอาจจะไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซ้ำร้ายอาจถูกแรงงานฝีมือจากชาติอื่น ๆ มาคว้าโอกาสในตลาดแรงงานของตนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม
Sambo Manara อาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนของกัมพูชาหลายแห่ง มองโลกในแง่ดีว่า เมื่อคนกัมพูชามีทักษะที่ค่อนข้างแย่ที่สุดเมื่อเทียบกับชาติในอาเซี่ยนอื่น ๆ เราก็จำเป็นต้องเปิดตลาดต้อนรับคนที่มีทักษะดีกว่าจากเพื่อนบ้าน รวมทั้งเปิดรับการเข้ามาของนายจ้าง และนักลงทุนจากต่างชาติ เพราะนี่คือทางเดียวที่จะช่วยประเทศพัฒนามากขึ้น?
???????? แหล่งข่าว : Kounila Keo,30 September 2012