การรับตรงเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในระบบของอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป รวมทั้งประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศในเอเซีย ไม่เหมือนการรับตรงของเมืองไทยซะทีเดียว แต่ก็ไม่ถึงกับแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะยังคงอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาทางด้านความรู้ความสามารถของผู้สมัคร ก่อนที่จะ Intake เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะใช้วิธีดูจากผลการเรียนที่ผ่านมาของนักเรียนที่จบในระดับไฮสคูลของประเทศนั้น ๆ
อีกปัจจัยคือ
ค่านิยมในการเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐมากกว่าเอกชน ในเมืองไทยยังคงมีมากอยู่ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเรียนก็ต่างกันมากเกินไป ทำให้มีข้อเปรียบเทียบที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มักเป็นฝ่ายได้เปรียบเยอะ ขณะที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชนจะไม่ต่างกันมาก เพราะรัฐบาลของต่างประเทศ มักให้ความสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางด้านการเงินเป็นอย่างดี ทำให้ส่วนใหญ่มีศักยภาพในการพัฒนาสถาบันของตนให้มีความน่าเชื่อถือ น่าเรียนได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
โปรแกรมอินเตอร์ต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการศึกษา ถือเป็นความจริงที่คู่กับยุคสมัยนี้ เพราะมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มักมีโปรแกรมที่เปิดรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน และนักเรียนต่างชาติก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเรียน หรือค่าธรรมเนียมในการศึกษา ที่มากกว่านักเรียน Local หรือ นักเรียนสัณชาติของประเทศนั้น ๆ เพราะธุรกิจนี้ทำเงินให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวนมหาศาล และภาพรวมบางประเทศช่องทางนี้ถือเป็นรายได้หลักที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย อเมริกา หรือ อังกฤษ ?ด้วยเหตุนี้กฎเกณฑ์การ Recruit นักเรียนต่างชาติ หรือการรับตรงจึงไม่ใช่ปัญหา หรืออุปสรรคที่ยากเกินไปนักสำหรับนักเรียนที่จะเดินทางไปเรียนยังประเทศเหล่านี้ หากมีความพร้อมทางด้านกำลังทรัพย์
ยิ่งหากเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับปานกลาง มักมีความยืดยุ่นในการรับนักศึกษาจากต่างประเทศเป็นพิเศษ เช่นกรณีคะแนนภาษาอังกฤษยังไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ก็อาจรับเข้ามาก่อน และเปิดโอกาสให้เรียนภาษาปรับพื้นฐานเพิ่มเติม ก่อนส่งคะแนนภาษาย้อนหลังอีกครั้ง เป็นต้น
กฎเกณฑ์ในการพิจารณารับตรงนักศึกษาต่างชาติ
1.G.P.A.(Grade Point Average) หรือผลการศึกษา หากเป็นระดับปริญญาตรี ประมาณ 2.0 ขึ้นไป ปริญญาโท ประมาณ 2.5 ขึ้นไป
2.English score หรือคะแนนภาษาอังกฤษจากการทดสอบกับสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น Ielts,Toefl เป็นต้น เพราะนักเรียนต่างชาติต้องเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก หรือเป็นภาษาสื่อกลาง
3.Expenses มีความพร้อมทางด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการยื่นหลักฐานบัญชีทางการเงิน ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถสนับสนุนตนเองในการเรียนในต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
4.Health พร้อมทางด้านสุขภาพ เพราะต้องพบกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ การกินอยู่ สังคมที่แตกต่างออกไป
5. Mental พร้อมทางด้านจิตใจ? ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะอาจมีปัญหา หรือประสบความล้มเหลวได้ หากใจไม่สู้ ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกหลักสูตรเรียน
- เลือกหลักสูตรที่สอดคล้องกับอาชีพ ที่ต้องการทำ ซึ่งเกิดจากการค้นหาตัวเอง ว่าชอบเรียนด้านใดอย่างแท้จริง ไม่เลือกตามเพื่อน ซึ่งหากเลือกที่ใช่จริง ๆ แล้วก็จะมีผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียน ไปจนถึงการทำงานในอนาคต
- โอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษา เพราะหากเลือกสาขาแห่งอนาคต โอกาสในการทำงานหลังจากการศึกษาย่อมดีกว่า เลือกสาขาที่แคบและจำกัด ดังนั้นการศึกษาล่วงหน้าเกี่ยวกับตลาดแรงงาน และแนวโน้มด้านนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
- พื้นฐานและคุณวุฒิของตนเอง เนื่องจากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีข้อกำหนดในการรับนักศึกษาที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาพื้นฐานทางวิชาการ และข้อกำหนดอื่น ๆ ของตนเอง เช่น ประสบการณ์ในการทำกิจกรรม หรือทำงานต่าง ๆ
- โครงสร้างและเนื้อหาวิชาของหลักสูตร ควรเลือกเนื้อหาและหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ชื่อของหลักสูตรที่เห็นอาจบอกรายละเอียดในระดับเบื้องต้นเท่านั้น? หลักสูตรบางหลักสูตรมีชื่อตรงกันแต่อาจมีเนื้อหาทางวิชาเรียนที่แตกต่างกัน
- ค่าใช้จ่าย โดยทั่วไปหากไม่ได้รับทุนการศึกษา นักเรียนต่างชาติต้องชำระค่าเล่าเรียนแบบเต็มจำนวน โดยปกติค่าเล่าเรียนของแต่ละสถาบัน และค่าครองชีพแต่ละเมืองย่อมแตกต่างกัน? ดังนั้นบางคนที่มีเพื่อนหรือญาติอยู่เมืองนอกก็อาจช่วยลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายลงได้มากพอสมควร
สิ่งที่ควรทราบอื่น ๆ
เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษที่ต้องการ ในแต่ละระดับโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้
-คะแนน Toefl และ Ielts
-มัธยมศึกษา Toefl ระหว่าง 500-550 Ielts ระหว่าง 5.0-6.0
-Certificate 500-550 / 5.0-6.0
-Diploma??? 500-550 /5.0-6.0
-ปริญญาตรี? 550-600 / 6.0-7.0
-สูงกว่าปริญญาตรี 550-600 / 6.0-7.0
ตอนต่อไปมาประเดิมกันด้วย การเรียนต่อประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2012 และเรื่องค่าใช้จ่ายที่ประเทศอังกฤษกันครับ...
เรื่องโดย : สมเกียรติ เทียนทอง