เรียนต่อสหราชอาณาจักร (Study in UK)
สวัสดีชาว Eduzones และชาว Interscholarship ทุกคนนะครับ กระแส ฟุตบอลยูโร 2012 กำลังมาแรงทีเดียว วันนี้พี่ต้นซุงเอาใจคอบอลเมืองผู้ดี?สำหรับคนรักทีมฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ?ในศึกยูโร 2012 โดยการมาทำความรู้จักกับระบบการศึกษาของสหราชอาณาจักรซึ่งมีเครือรัฐซึ่งประกอบไปด้วย อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือกันครับ จะเป็นอย่างไรติดตามอ่านได้เลยครับ

หลักสูตรการเรียนการสอนในอังกฤษมีความหลากหลาย มีสถาบันการศึกษามากกว่า 3,000 แห่งที่ยินดีรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียน โดยนักศึกษาสามารถเลือกสาขาวิชา และรูปแบบของหลักสูตรที่ต้องการได้ ตามความต้องการและความสามารถของตนเอง อาทิเช่น ระบบการศึกษา การ ศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 5 - 16 ปี ซึ่งโรงเรียนมีอยู่ 2 ประเภทคือ โรงเรียนรัฐบาล (state-funded) และโรงเรียนเอกชน (independent schools) ระบบการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบที่ใช้ในอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ และระบบที่ใช้ในสก๊อตแลนด์ ... ชั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน (Pre-school) ทั้ง โรงเรียนรัฐบาลและเอกชนจะมีหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน ซึ่งหมายถึงการเข้าเรียนที่ Nursery เมื่ออายุประมาณ 3-4 ปี โรงเรียนส่วนใหญ ่จะเปิดรับนักเรียนต่างชาติเมื่ออายุ 7 ปี และมักเป็นโรงเรียนประจำ ... ระดับประถมศึกษา (Primary Education) ในระบบโรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่จะเข้าเรียนระดับชั้นประถมเมื่ออายุ 5 ปี และเข้าระดับมัธยมศึกษาเมื่ออายุครบ 11 ปี การเรียนการสอนจะเน้นในเรื่อง ของวิชาหลักๆ และเน้นให้เด็กมีทักษะในการเขียนและทักษะทางตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถตามอายุ มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและ โรงเรียนเอกชน และส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสหศึกษา ... ระดับมัธยมศึกษา (รวมถึง General Certificate of Secondary Education - GCSE ในอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ หรือ National Qualifications ในสก็อตแลนด์) โรงเรียนมัธยมทั้งในระบบรัฐบาลและเอกชน เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่อายุ 11-16 ปี โดยมากนักเรียนต่างชาติจะเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาเมื่ออายุประมาณ 11 ปี หรือ 13 ปี ในวิชาพื้นฐานจนกระทั่งอายุประมาณ 14 ปี หลังจากนั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในวิชาหลักและวิชาเลือกรวม 8-12 วิชา ตามการศึกษาระดับ GCSE หรือ ระดับ National Qualification (รวมถึง Standard Grades, National Units, National Courses และ Scottish Group Awards) ของสก็อตแลนด์ นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถ เลือกศึกษาหลักสูตรวิชาชีพในระดับที่เทียบเท่าได้ โดยเมื่ออายุครบ 16 ปี นักเรียนสามารถออกจากระบบการศึกษา หรือเข้าศึกษาต่อในระบบการศึกษาหลังอายุ 16 ปีได้ การศึกษาหลังอายุ 16 ปี (รวมถึง General Certificate of Education Advanced Level - GCE A - Levels หรือ Highers และ National Qualification ในสก็อตแลนด์) นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มักเลือกที่จะศึกษาต่อตามระบบ การศึกษาจนถึงอายุ 18 ปี โดยส่วนมากจะเข้าศึกษาต่อในระดับ A - Levels เป็นเวลา 2 ปี หรือในระดับ National Qualifications at Higher/ Advanced Higher Level ของสก็อตแลนด์ นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถ เลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร International Baccalaureate - IB ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับนักเรียนอายุ 16-18 ปี หรือจะเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรสาขาวิชาชีพได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้มีเปิดสอน ในโรงเรียน และวิทยาลัย (Further Education-FE) ... การศึกษาหลังอายุ 18 ปี นักเรียนโดยมากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเมื่ออายุ18 ปี และได้รับวุฒิการศึกษา A - levels หรือเทียบเท่า หลังจากนั้นก็จะศึกษาต่อไปในระดับอาชีวศึกษา (Further Education) หรืออุดมศึกษา (Higher Education) การศึกษาระดับอาชีวศึกษา (Further Education): เป็นคำที่ใช้เรียกการศึกษา และการฝึกอบรมซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ เมื่ออายุ 16 ปี แล้วมีวิทยาลัยมากกว่า 600 แห่งที่เปิดสอนหลักสูตรและ สาขาวิชาที่มีความ หลากหลาย รวมทั้ง หลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตร GCSE และ A - levels หลักสูตรวิชาชีพ หลักสูตรปูพื้นฐาน และหลักสูตรปริญญาตรีบางวิชา ซึ่งนักเรียนต่างชาติสามารถเข้าเรียนได้ทั้งในสถาบันของรัฐบาลและเอกชน การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education): ได้แก่หลักสูตรที่มีระยะเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่าในระดับที่สูงกว่า A-levels, Scottish Highers หรือเทียบเท่า ในปัจจุบัน สหราชอาณาจักรมีมหาวิทยาลัยกว่า 100 แห่ง ซึ่งรวมถึงสถาบันการศึกษาในรูปแบบของ Polytechnic ที่ได้รับการ ปรับเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว หรือที่รู้จักกันภายใต้คำว่า New University ส่วน College of Higher Education นั้น ก็มีอยู่มากกว่า 200 แห่ง   หลักสูตรภาษาอังกฤษ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ การท่องเที่ยว การแพทย์ การออกแบบแฟชั่น วิศวกรรม การค้าระหว่างประเทศ เตรียมตัวศึกษาต่อ หรือ การประกอบอาชีพอื่นๆ มากมาย หลักสูตรเหล่านี้มีเปิดสอนทั้งในโรงเรียน สถาบันสอนภาษาเอกชน โรงเรียนประจำ วิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานจาก British Council ภายใต้ British Accreditation Scheme ลักษณะวิธีการเรียนการสอน และวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักสูตร ยังมีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ ภาษาอังกฤษทั่วไป (General English) เป็นหลักสูตรพื้นฐานทั่วไป สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน หรือเพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน มีเปิดสอนหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ถึงระดับสูง โดยทั่วไปจะไม่จำกัดอายุ ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes-EAP) เป็น หลักสูตรสำหรับนักเรียนที่ต้องการพัฒนาความรู้ และทักษะการใช้ภาษา อังกฤษที่จำเป็นในการเรียนในหลักสูตรวิชาการ โดยจะเน้นทักษะการใช้ภาษาเชิง วิชาการ อาทิ การเขียนเรียงความ การจดโน้ต การสัมมนา การอ่านตำรา การใช้ห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์ และคำศัพท์วิชาเฉพาะ ภาษาอังกฤษก่อนเข้ามหาวิทยาลัย (Pre-University Entrance English หรือ Pre-Sessional English Language Programmes) โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อม ให้กับนักศึกษาที่ต้องการ เข้าศึกษาต่อ ในหลักสูตรทางด้านวิชาการที่สถาบันการศึกษานั้นๆ แต่ยังมีความ สามารถทางด้านภาษาต่ำกว่าที่ได้กำหนดไว้ มักมีเปิดสอนในช่วงก่อนเปิดภาค การศึกษาหลักของสถาบันการศึกษานั้นๆ โดยสถาบันการศึกษาจะตอบรับนักศึกษา แบบมีเงื่อนไข คือนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในรูปแบบนี้ก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรทางวิชาการที่สมัคร ไว้ต่อไปได้ โดยอาจไม่ต้องสอบ IELTS อีก นอกจากนี้สถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็มีหลักสูตร In-Sessional English Language Programme ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มเติมแก่นักศึกษา ในช่วงระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purpose) เป็น หลักสูตรเฉพาะ ที่มุ่งพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และคำศัพท์ที่ต้องใช้ใน งานที่ทำในสาขาอาชีพต่างๆ อาทิเช่น ศิลปะ การเงิน การธนาคาร คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม แฟชั่น การท่องเที่ยว การค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ การเรียนการสอน จะเน้นการพัฒนาทักษะ การใช้ภาษาที่จำเป็นในสาขาอาชีพนั้นๆ รวมถึง การใช้โทรศัพท์ การเขียนรายงาน ทักษะการนำเสนอ และการต่อรองทางธุรกิจ   หลักสูตรภาคฤดูร้อน (Vacational Course) เป็น หลักสูตรที่มักเปิดสอนในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม (ฤดูร้อนในสหราชอาณาจักร) หรือเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน (วันหยุดอีสเตอร์) บางครั้งอาจรวมกิจกรรมในช่วงพักผ่อนไว้ด้วย หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (Teaching English as a Foreign Language-TEFL) และการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนต่างชาติ (Teaching English to Speakers of Other Languages-TESOL) เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้ง ทางทฤษฎีและปฏิบัติ และได้รับประกาศนียบัตรเมื่อศึกษาสำเร็จหลักสูตร นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการเข้าศึกษาต่อ ในหลักสูตรระดับปริญญา ได้ด้วย หลักสูตรปูพื้นฐานก่อนหลักสูตรระดับปริญญา เป็น หลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพ สำหรับนักศึกษาที่มีคุณวุฒิไม่เพียงพอ ในการ สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา โดยหลักสูตรปูพื้นฐานจะเป็นการเพิ่มทักษะ ความมั่นใจ และความพร้อมให้แก่นักศึกษา หลักสูตรดังกล่าวส่วนใหญ่ จะเปิดสอนในสถาบันที่มีหลักสูตรระดับปริญญา หรือสถาบันที่มีการเชื่อมต่อกับ วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรระดับปริญญา ซึ่งในบางกรณีนักศึกษาก็จะได้ รับประกันการเข้าเรียนต่อ ในหลักสูตรระดับปริญญานั้นๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา ในหลักสูตรปูพื้นฐาน หลักสูตรปูพื้นฐานที่เป็นที่รู้จักกัน โดยทั่วไปมีอยู่ 2 หลักสูตรด้วยกันดังต่อไปนี้ Access Programmes เป็น หลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญา แต่ยังขาดทักษะ และความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาต่อ หากนักศึกษายังไม่แน่ใจว่าต้องการ ศึกษาต่อในสาขาอะไร ก็สามารถเลือกหลักสูตร General Access to Higher Education หรือหลักสูตรปูพื้นฐานแบบทั่วไปก่อนได้ แต่ส่วนใหญ่หลักสูตร Access จะเป็นการเตรียมความพร้อมเฉพาะเจาะจง ในสาขาวิชา ที่ต้องการศึกษาต่อ โดยมาก หลักสูตร Access จะใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี และไม่มีเกรดผลสอบ แต่นักศึกษาจะได้รับเป็นใบประกาศนียบัตร Foundation Programmes หลัก สูตร Foundation เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าศึกษา ต่อในหลักสูตรระดับปริญญา ที่สถาบันของตนเองเปิดสอนอยู่แล้วได้ หลักสูตร Foundation จะมีลักษณะเช่นเดียวกับหลักสูตร Access คือจะเป็น หลักสูตรเฉพาะสำหรับแต่ละสายวิชา หรือกลุ่มวิชาในสาขาต่างๆ และใช้ระยะเวลา ของในการศึกษา 1 ปี แต่หลักสูตร Foundation Degree จะเป็นหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาขาอาชีพในระดับอุดมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียน การสอนในทักษะที่ยังขาดแคลน สำหรับเจ้าหน้าที่เทคนิค หรือผู้เชี่ยวชาญระดับสูง หลักสูตรดังกล่าวมักเปิดสอนในมหาวิทยาลัยร่วมกับ Higher Education College และ Further Education College Diploma Programmes ใน บางสถาบันนักศึกษาที่ศึกษาสำเร็จระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเทศไทย และมีผลสอบภาษาอังกฤษถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตร Diploma ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 1 ปีได้ โดยเมื่อจบการศึกษาและมีผลคะแนน ถึงเกณฑ์ตามที่สถาบันกำหนดไว้ นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อในปีการศึกษาที่ 2 ของหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้ทันที นักศึกษาสามารถเลือกเข้าศึกษาหลักสูตร Diploma ในสาขาที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ ทั้งทางด้าน ธุรกิจ เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ และนิเทศศาสตร์ วุฒิการศึกษาของสกอตแลนด์ Standard Grades, Highers และ Advanced Highers นักเรียนที่จบปีที่ 4 ของระดับมัธยมศึกษา มักจะต้องสอบ Standard Grades ที่มีระดับชั้นเรียงลำดับจาก 1-6 (1 คือสูงสุด) โดย Standard Grades แบ่งเป็น 3 ระดับคือ Foundation ซึ่งครอบคลุมระดับชั้น 5-6 (เทียบเท่ากับ SCQF ระดับชั้น 3) General ซึ่งครอบคลุมระดับชั้น 3-4 (เทียบเท่ากับ SCQF ระดับชั้น 4) และ Credit Level ซึ่งครอบคลุมระดับชั้น 1-2 (เทียบเท่ากับ SCQF ระดับชั้น 5) การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา จะต้องได้ Standard Grade ระดับชั้น 1-3 รวมกับคะแนนจากวิชาหลักที่จะต้องได้วุฒิการศึกษา ระดับ Highers มหาวิทยาลัยในสก็อตแลนด์จะรับนักศึกษาโดยดูจากคะแนนในระดับ Highers (สอบเมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นปีที่ 5 ในระดับมัธยมศึกษา) นักเรียนบางคนอาจจะ สอบหลายครั้ง เพื่อให้ได้คะแนนที่กำหนดไว้ สำหรับการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย และอาจจะเรียนต่อไปอีก 1 ปี เพื่อสอบ Advanced Highers และ Additional Highers และ/หรือ National Units (ปีที่ 12-13 ของอังกฤษจะเท่ากับปีที่ 5-6 ของสก็อตแลนด์)เมื่อจบชั้นปีที่ 6 ในระดับมัธยมศึกษา นักเรียนจะสอบ Advanced Highers โดยจำนวนนักเรียนที่สอบได้ อาจจะขึ้นอยู่กับนโยบายจัดการศึกษาของโรงเรียน หรือจากการที่นักเรียนได้เรียน หรือฝึกงานเพิ่มเติมในระดับ Intermediate 2 หรือ Higher Levels Advanced Highers มีคะแนนผ่าน 3 ระดับ คือ A B C ซึ่งเทียบเท่ากับ GCE A Level ระดับ A ถึง C แต่ GCE A Level ระดับ D และ E จะไม่ถือว่าผ่าน Advanced Highers ... Scottish Vocational Qualification-SVQ เป็นวุฒิการศึกษาเฉพาะสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพที่คล้ายคลึงกับ NVQ ของอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ... International Foundation Programme-Scotland (IFPS) เป็น หลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสก็อตแลนด์ เพื่อ ช่วยให้นักศึกษาต่างชาติสามารถผ่านการสอบ Highers และ/หรือ Foundation เพื่อเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาในสาขาวิชาที่ต้องการได้ นักศึกษาในหลักสูตรนี้ จะเริ่มเข้าเรียนในภาคฤดูร้อนจนกระทั่งผ่านการสอบ Highers ประมาณต้นเดือน สิงหาคม ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านเกณฑ์จะต้องเรียนต่อไปจนปลายเดือน สิงหาคม แล้วจึงสอบ Foundation ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยทุกแห่งในสก็อตแลนด์ และสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งในอังกฤษ โดยถือเทียบเท่ากับการสอบ Highers ดังนั้น นักศึกษาจึงมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการสอบเพื่อให้ได้คะแนนตามเกณฑ์ ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถสมัครเรียนระดับอุดมศึกษาได้โดยใช้คะแนนจากการสอบ Highers และFoundation รวมกัน หลักสูตรปริญญาตรี การ ศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรระยะเวลา 3 ปี ยกเว้นบางสาขา ที่อาจใช้เวลานานกว่า อาทิเช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตว์แพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี) นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถ เลือกศึกษาวิชา จากสองสาขาหรือมากกว่าได้ โดยนักศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรแบบ Combined หรือ Joint Honours Degree ส่วน หลักสูตรระดับ ปริญญาตรีแบบ Sandwich เป็นหลักสูตรที่รวมระยะเวลาการฝึกงาน ไว้ในช่วง การเรียนการสอนด้วย ทำให้หลักสูตรประเภทนี้ใช้เวลารวม 4 ปีในการสำเร็จ การศึกษา โดยนักศึกษาเมื่อผ่านช่วงฝึกงานแล้ว จะต้องกลับเข้าเรียนในปีสุดท้าย กับทางสถาบัน สำหรับนักศึกษาต่างชาติควรตรวจสอบรายละเอียด เกี่ยวกับ การอนุญาตให้ทำงานกับทางสถาบันก่อน ... หลักสูตรปริญญาโท หลัก สูตรในระดับปริญญาโทแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Programmes) ซึ่งเป็นการเรียนในรูปแบบปกติ คือจะมีการเรียน ในชั้นเรียน สัมมนา และการทำวิทยานิพนธ์ อีกประเภทคือแบบทำวิจัย (Research Programmes) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาเจาะลึก ในสาขาวิชาที่ตนสนใจเป็นพิเศษ โดยนักศึกษาจะแสดงความคิดริเริ่ม ในการ พัฒนาหัวข้อที่ตนสนใจ ภายใต้การดูแลแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน การศึกษาในระดับปริญญาโท สามารถแบ่งย่อยออกเป็นระดับต่างๆ คือ ประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาโท (Postgraduate Certificate, Postgraduate Diploma Courses): วุฒิการศึกษาที่ได้คือ Postgraduate Certificate หรือ Postgraduate Diploma คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรีจากสหราชอาณาจักร หรือจากสถาบันต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และมีผลสอบภาษาอังกฤษ ในระดับที่กำหนด หลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master): วุฒิ การศึกษาที่ได้คือ Master of Art (MA), Master of Science (MSc.), Master of Laws (LLM), Master of Education (MEd) และอื่นๆ คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจาก สหราชอาณาจักรหรือ จากสถาบันต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และผลสอบ ภาษาอังกฤษในระดับที่กำหนด รูปแบบการเรียนการสอน จะใกล้เคียงกับหลักสูตร อนุปริญญาโทหรือประกาศนียบัตร มีการประเมินผล อย่างต่อเนื่อง และอาจมีการสอบ วัดผล แต่นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ในช่วงภาคการเรียนสุดท้าย (ประมาณ 3 เดือน) ซึ่งถือเป็นการวัดผลส่วนสำคัญ หลักสูตรปริญญาโทแบบทำวิจัย (Research Master): วุฒิการศึกษาที่ได้คือ Master of Philosophy (MPhil), MA/MSc by Research, Master by Research (MRes) คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องสำเร็จปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจาก สหราชอาณาจักร หรือจากสถาบันต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ และผลสอบภาษาอังกฤษในระดับที่กำหนด เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้อง ค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้การดูแลแนะนำ โดย 2 ใน 3 ของ หลักสูตร จะเป็นการศึกษาหัวข้อวิจัยและวางแผนการเขียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลการเรียน พิจารณาจากการเขียนวิทยานิพนธ์ความยาวประมาณ 30,000-40,000 คำ หลักสูตร Master of Business Admonistration (MBA) หลักสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้จัดการที่ต้องการพัฒนาความรู้ เพิ่มประสบการณ์ และแนวทางการบริหาร ซึ่งมีสถาบันเปิดสอนกว่าร้อยแห่งและมีนักศึกษา ต่างชาติลงทะเบียนเรียนกว่า 3 พันคนในแต่ละปีนอกจากคุณสมบัติการรับ นักศึกษาที่กล่าวมาแล้ว สถาบันส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร จะกำหนดลักษณะ สำคัญ ของการศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ว่า นักศึกษาจะต้องมีประสบการณ์การทำงาน ในระดับบริหารมาเป็นเวลา 2-5 ปี รวมถึงข้อกำหนดทางด้านภาษาอังกฤษ และบางสถาบันอาจกำหนดให้นักศึกษาส่งผลสอบ GMAT ด้วย อย่างไรก็ดี ในปัจุบันก็มีมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งที่สามารถรับนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการ ศึกษา และไม่มีประสบการณ์การทำงานเข้าเรียนต่อในหลักสูตร MBA ได้เช่นกัน   หลักสูตรปริญญาเอก เป็น หลักสูตรที่ต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้การดูแลของ อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ จะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทก่อน แต่นักศึกษาที่จบระดับปริญญาตรีและมีประวัติการเรียนที่ดี หรือ มีประสบการณ์การทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องมากเพียงพอ อาจสามารถสมัคร เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกได้เลยเช่นกัน ซึ่งอาจใช้เวลาศึกษารวม 3 ถึง 4 ปีในการสำเร็จการศึกษา โดยนักศึกษาจะใช้ช่วงเวลา 2 ถึง 3 ปีแรกในการค้นคว้า ข้อมูล ทำวิจัย และวางแผนการเขียนวิทยานิพนธ์ที่มีความยาวประมาณ 70,000-100,000 คำ ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษากว่า 31 แห่งที่เปิดสอนหลักสูตร ซึ่งมีระบบที่ชัดเจนและเป็นทางการมากกว่าหลักสูตรแบบทำวิจัยอย่างเดียว คือ หลักสูตร New Route PhD โดยนักศึกษาจะต้องเข้าชั้นเรียนด้วย โดยวุฒิการศึกษาที่ได้รับนั้นจะเจาะจงแล้วแต่สาขาที่เลือกเช่น Doctor of Education (EdD), Doctor of Clinical Psychology ... หลักสูตรทางไกล นัก ศึกษาสามารถเลือกหลักสูตรในสาขาต่างๆ จากระบบการศึกษาทางไกลและ การศึกษาระบบเปิดได้ โดยสามารถเรียนจากที่บ้านและอาศัยการอ่านเอกสารประกอบ หรือผ่านทางวีดีโอ ซีดีรอม เทป และข้อมูลจากเว็บไซด์ ส่วนการติดต่อกับ อาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมชั้นนั้น สามารถติดต่อได้โดยทางจดหมาย อีเมล์ chatroom หรือ โทรสาร ในบางหลักสูตร นักศึกษาอาจจะต้องเข้าชั้นเรียน กับมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือในประเทศของตน หรืออาจต้องเดินทางไปเรียน ที่สหราชอาณาจักรเป็นเวลาสั้นๆ ... หลักสูตรระยะสั้น สถาบัน การศึกษาหลายแห่ง เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน หรือ 9 เดือน ซึ่งมักจะเป็นหลักสูตรวิชาชีพ เพื่อเป็นการใช้เวลาช่วงสั้นๆ พัฒนาทักษะและ เรียนรู้ทฤษฎี เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ (เช่นการตลาด การถ่ายภาพ สังคมสงเคราะห์ หรือการท่องเที่ยว) หลักสูตรระยะสั้นนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ ลองใช้ชีวิตนักศึกษาช่วงสั้นๆ ในสหราชอาณาจักร โดยมีเปิดสอนทั้งใน ภาคฤดูใบไม้ผลิ และภาคฤดูร้อน   ------------------------------ ขอบคุณข้อมูล ?[1]
โดย Chanitsiree Keawood
วันที่ 13 มิถุนายน 2555
พิมพ์หน้านี้