ล้วงลึกเรียนต่อเยอรมัน กับผู้อำนวยการสถาบัน Goethe ประเทศไทย


ล้วงลึกเรียนต่อเยอรมัน ก

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้ ได้รับเกียรติจาก พี่สมเกียรติ เทียนทอง บรรณาธิการบริหาร www.interscholarship.com อีกเช่นเคยครับ ในการสัมภาษณ์บุคคลากรผู้เชี่ยวชาญและทำงานในระบบการศึกษาต่างประเทศโดยตรงครับ

วันนี้พี่สมเกียรติ เทียนทอง ทางทีมงาน eduzones และ Interscholarship.com ได้สัมภาษณ์ Mr.Norbert Spitz (Director of Goethe-Institut Thailand) ถึงความร่วมมือของประเทศเยอรมันกับการเปิด “เครือข่ายสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EUNIC – European Union National Institutes For Culture) ประเทศไทย” และการเผยแพร่ภาษาและการศึกษาต่อประเทศเยอรมัน แก่นักเรียนต่างชาติและนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาต่อยังประเทศเยอรมันครับ เรามาฟังสัมภาษณ์กับเลยครับ


 

Question : เยอรมันมีส่วนร่วมกับยูนิกไทยแลนด์อย่างไรบ้าง
Answer : สถาบันนี้เป็นความร่วมมือทางวัฒนธรรม ส่วนเยอรมัน มีสถาบันวัฒนธรรม เกอเธ่ที่เปิดมา 52 ปีแล้ว ชาติยุโรปอื่น ๆ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันเช่น บริติช เคาน์ซิล ของอังกฤษ หรือ อารียอง ฟรองเซส ของฝรั่งเศส และอื่น ๆ ส่วนโครงการแรกที่ดำเนินการครั้งนี้ คือ European Languages Café ซึ่งแต่ละประเทศจะสามารถโปรโมทภาษาของชาติตนได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้สำเนียงภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ ละประเทศไปสู่ชาติต่าง ๆ ทั่วโลก  ซึ่งมีประโยชน์ เช่น หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในการไปทำงานในยุโรป คุณก็ต้องสามารถพูดภาษายุโรปได้มากกว่า 1 ภาษา ภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาอันดับ 1 แต่ภาษาอื่น ๆ ของยุโรปก็มีจุดที่น่าสนใจเช่นกัน เช่น ภาษาเยอรมัน เพราะประเทศเยอรมันเป็นชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ส่งออกสินค้ามายังตะวันออกมาก ดังนั้นการพูดภาษาเยอรมันได้จึงเป็นข้อได้เปรียบ
Question : ทราบมาว่าท่านทำเกี่ยวกับรายการทีวีในภูมิภาคนี้ด้วย อยากให้พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้
Answer : เราคิดว่าสื่อมวลชนสามารถมีบทบาทสำคัญในวง การการศึกษา ด้วยเหตุนี้เราจึงทำรายการทีวีขึ้นมา 9 ช่อง ในประเทศอาเซียน 9 ประเทศ เป็นรูปแบบรายการชื่อ“Knowledge Magazine” มี กลุ่มเป้าหมายคือเด็ก เพราะต้องการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสังคมโลก เข้าใจความเปลี่ยนแปลงและบทบาทต่าง ๆ โดยรายการนำเสนอเป็นภาษาของ 9 ชาติ เด็กจึงดูและเข้าใจได้ง่าย โดยแต่ละซีรี่ส์จะฉาย 26 ตอน
Question : การนำเสนอมีเรื่องของการใช้ภาษาเยอรมันด้วยหรือเปล่า
Answer : ไม่มี เราใช้ภาษาของชาตินั้น ๆ ที่รายการออกอากาศ เช่น หากฉายในไทยก็ใช้ภาษาไทย ในมาเลเซียก็เป็นภาษาบาฮาซา มาเลเซีย หรือ อินโดนีเซีย ก็บาฮาซา อินโดนีเซีย เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : ธีรติร์ บรรเทิง (ต้นซุง eduzones) บรรณาธิการต่างประเทศ www.eduzones.com
แปล/สัมภาษณ์ : สมเกียรติ เทียนทอง บรรณาธิการบริหาร www.interscholarship.com
โดย Chanitsiree Keawood
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556
พิมพ์หน้านี้