รู้จัก “เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน” (ASEAN University Network)

รู้จัก “เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน” (ASEAN University Network)


บทความโดย : ต้นซุง Eduzones

สวัสดีชาว Interscholarship ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักมหาวิทยาลัยในภูมิภาคของเราให้มากขึ้นกันครับ ตามกระแสการเปิด ประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้ครับ

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN UNIVERSITY NETWORK) คืออะไร ?

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) เป็น ความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้นทำให้สมาชิกของเครือ ข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพิ่มจำนวนเป็น 27  สถาบัน โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาคและสร้างความสํานึกในความ เป็นอาเซียนขึ้นโดยฝ่ายกลไกความร่วมมือทางด้านอุดมศึกษา  โดยมีการลงนามความตกลงเพื่อการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนขึ้น 2 ฉบับครับ ได้แก่

1. กฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Charter of The ASEAN University  Network)
2. ข้อตกลงร่วมในการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Agreement on the Establishment of the ASEAN University Network)
โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบขององค์กรรัฐมนตรีรายสาขา (ASEAN SECTORAL MINISTERS BODIES) ในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรมในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาครับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนมีวัตุประสงค์และให้ความสำคัญในการดำเนินการด้วยกัน 5 เรื่อง ดังนี้
1. การส่งเสริมการสร้างความตระหนักในความเป็นอาเซียน
2. การเพิ่มการเข้าถึงคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับประถม มัธยม
3. การเพิ่มคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการปฏิบัติงาน การเรียนร้ตลอดชีวิต  และการพัฒนาวิชาชีพชั้นสูง
4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับการเคลื่อนย้ายพรมแดน และความเป็นสากลของการศึกษา
5. การให้การสนับสนุน ส่งเสริมแก่ภาคส่วนงานอื่น ๆ



  การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียนยังดำเนินกิจการอีกหลายด้าน ดังนี้ครับ

1. การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (Academic Exchange)

2. การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนที่ไม่ใช่วิชาการ (Cultural and Non-Academic Exchange)
3. การอบรมและการพัฒนาขีดความสามารถ (Training Capacity building)
4. ความร่วมมือด้านงานวิจัย  (Collaborative Research)
5. ระบบกลไกอุดมศึกษา (Systems and Mechanism of Higher Education)
6. การพัฒนาหลักสูตรและโครงการ (Course and Programme development)
7. การประชุมเสวนาด้านนโยบาย (Policy Dialogue)
8. ศูนย์กลางข้อมูลและความรู้ (Database and Knowledge Center)
9. เครือข่ายเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยอาเซียน (Thematic Network)โดยเครือข่ายเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยอาเซียนนี้ยังดำเนินการภายใต้ เครือข่าย 7 เครือข่าย ได้แก่
1. AUN Southeast Asia Engineering Education Development Network สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ASEAN  Graduate Business and Economics Programme Network  ดําเนินการโดย DE La Salle University, Phillipines
3. AUN Human Rights Education network สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย มหาวิทยาลัยมหิดล
4. AUN Inter-Library online สํานักงานเลขานุการ Universiti Sains Malaysia
5. ASEAN Credit Transfer System สํานักงานเลขานุการคณะดําเนินการโดย  Universitas Indonesia
6. AUN  Intellectual Property สํานักงานเลขานุการดําเนินการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. AUN University Social Responsibility& Sustainability  สํานักงานเลขานุการ ดําเนินการโดย Universiti  Kabangsaan Malaysia

สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศกลุ่ม สมาชิกอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกได้แก่ พระราชอาณาจักรกัมพูชา เน การาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 27 มหาวิทยาลัย จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ณ ปีพ.ศ. 2555)

 

โดย Chanitsiree Keawood
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556
พิมพ์หน้านี้