จีน?สินค้าเข้าธุรกิจการศึกษาสหรัฐแห่งปี?
ยุคนี้ในระดับบัณฑิตศึกษา หรือการศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรี นักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือได้ว่าเป็นสินค้านำเข้าชั้นยอดสู่ตลาดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐ และตัวเลขที่โดดเด่นก็เริ่มจากปีค.ศ.2011 ที่ทำสถิติเพิ่มขึ้นไปถึง 22% และแนวโน้มของปี 2012 ที่กำลังจะมีการสำรวจกันก็มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่สหรัฐยังมีพื้นที่รองรับแบบไม่อั้น จากรายงานสำรวจล่าสุดของCGS พบว่า จำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนครั้งแรกของนักศึกษาต่างชาติทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถาบันการศึกษาเอกชน ที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรมีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และแน่นอนจีนทำสถิติเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 7 ปีแล้ว โดยสถิติเพิ่มขึ้น 22% ของปี 2011 ทำให้จีนขณะนี้เพิ่มสัดส่วนเป็น 37% ของนักเรียนจากนานาชาติทั้งหมดที่เข้าสู่ระบบบัณฑิตศึกษา หรือ Graduate Student ของภาพรวมสหรัฐ โดยสาขายอดฮิต ได้แก่ Business และ Engineering Jeffrey Allum ผู้อำนวยการของสภาวิจัย และการสำรวจทางงด้านนโยบายสาธารณะประจำปี 2012 เผยว่า สหรัฐอเมริกา ถึงอย่างไรก็ยังครองความเป็นสุดยอดของโลกชาติหนึ่งในเรื่องของการมีสถาบันที่จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ทางด้าน Business และ Science ขณะที่ Washington DC-based Association of International Educators, หรือ NAFSA รายงานว่า หากจะพิจารณาในแง่เศรษฐกิจ นักเรียนต่างชาติ มีส่วนเติมเข้ามาในระบบนี้ของสหรัฐ เป็นยอดเงินสูงเกือบ 22 พันล้านเหรียญ ในระหว่างปีการศึกษา 2011-12 ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ กลับเห็นว่า ประโยชน์ที่ล้ำค่าไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินอย่างเดียว แต่มันคือ การที่นักเรียนอินเตอร์เหล่านี้ทำให้เกิดภาพของสังคมเศรษฐกิจโลก เพราะนับวันเรื่องเศรษฐกิจจะเกิ่ยวข้องโยงใยกันทั่วโลกมากขึ้นทุกขณะ ดังนั้นนักเรียนจำเป็นต้องเปิดตัวสู่ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้นทุกขณะ เพื่อเป็นการเตรียมสู่บทบาทหน้าที่การงานภายใต้วัฒนธรรมอันหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ แนวโน้มของการศึกษาอินเตอร์โดยมีสหรัฐเป็นที่หมายจะยังคงขยายตัวต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ประเทศจีนและชาติชั้นนำยุคใหม่อีกบางประเทศ สามารถสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาระบบการศึกษาชั้นสูงของตนขึ้นมาได้ จีนนั้นกำลังขยายและพัฒนาระบบการศึกษาของตนอย่างจริงจัง และเมื่อไปถึงจุดหนึ่ง ก็จะเป็น Turning point ที่จีนจะเริ่มดำเนินนโยบายในการลดการสนับสนุนให้นักเรียนของตนเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ? ? แปล/เรียบเรียงโดย สมเกียรติ เทียนทอง แหล่งข่าว University World News
โดย Chanitsiree Keawood
วันที่ 25 ธันวาคม 2555
พิมพ์หน้านี้