มารู้จักกับ (EP) English Program กัน


โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษหรือที่ได้ยินกันในชื่อ English Program เป็นโครงการของโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ความสามารถและทักษะทางภาษาของผู้เรียน หรืออาจเรียกว่าโรงเรียนสองภาษา และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความเป็นผสมผสานกับความเป็นสากล สำหรับรูปแบบการจัด สามารถทำได้ 2 แบบ คือ English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือ EPจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ส่วน MEP สอนได้ไม่เกิน ๕๐% ของชั่วโมงสอนทั้งหมดต่อสัปดาห์ 
คำว่า English Program เป็นคำที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดขึ้นเพื่อ อธิบายรูปแบบการจัดการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยมีชื่อภาษาไทยว่า "การจัดการ เรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ" 
 
ส่วนคำว่า Bilingualism Education เป็นทฤษฎีการจัดการศึกษารูปแบบ หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ทั่วโลก เนื่องจากเป็นทฤษฎีสากลที่ใช้ในหลาย ประเทศ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างภาษาที่ 1 (ภาษาหลัก) กับภาษา ที่สอง (ภาษารอง) โดยไม่มีข้อจำกัดถึงอัตราส่วนที่แน่นอนระหว่างภาษา ที่ 1 และภาษาที่ 2 และไม่บังคับวิชาที่จะใช้สอนเป็นสองภาษา ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการได้กำหนดอัตราส่วนและรูปแบบของ English Program ไว้ดังนี้ 
 
 
ระดับอนุบาล จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ 
ระดับประถม จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา 
ระดับมัธยม สามารถจัดได้ทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษาใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย 
 
การพิจารณาเลือกโรงเรียน
 
สิ่งสำคัญคือภาษาที่ใช้จริง ๆ ในหลักสูตรของโรงเรียนเป็นภาษาอะไร ใน หลักสูตรของโรงเรียนสองภาษาที่ดีจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการ สอนสองภาษาของโรงเรียน อีกประการหนึ่งคือต้องดูว่า คุณครูในโรงเรียนสนับ สนุนการพัฒนาทั้งสองภาษาหรืไม่ อย่ามองเพียงผลสอบหรือลำดับของโรงเรียนในการ วัดผล เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก เช่น กิจกรรมนอกเวลาที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้สองภาษา 


เรียบเรียงโดย editor bee
ข้อมูลอ้างอิง bloggang
โดย Editor Bee
วันที่ 22 มีนาคม 2556
พิมพ์หน้านี้